Price Action
คำว่า Price Action เป็นคำที่เริ่มได้ยินกันมากขึ้นเรื่อยๆในวงการเทรดบ้านเรา เมื่อก่อนเราจะคุ้นเคยกับคำว่า Technical Analysis และ ตามด้วยคำว่า Indicator, ซึ่ง Indicator เองเป็นระบบที่ง่ายต่อผู้ใช้ แต่ เนื่องจากสัญญาณมันถูกคำนวณจากแท่งเทียนหลายๆ แท่ง จึงก่อให้เกิดการ delay เป็นธรรมชาติ, แล้วถ้าไม่อยาก delay จะทำอย่างไรดี ? ก็จะมี Technical อีกแขนงหนึ่ง ที่จะใช้ ทักษะ การจดจำ รายละเอียดการเคลื่อนไหวของราคา มาใช้ในการตัดสินใจเทรดเลย นั่นก็คือ แขนง Price Action นั่นเอง
ในปัจจุบันยังไม่มีนิยามที่เป็นมาตรฐานของคำว่า Price Action, คำนิยามที่เป็นกลางที่สุดน่าจะเป็นหมายถึง “การเคลื่อนไหวทุกอย่าง ของราคาบนกราฟ” ซึ่งสาย Price Action เป็น แขนงที่ต้องคอยจดจำรายละเอียดการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง ต้องดูซ้ำๆ จนเริ่มเห็นรูปแบบ และ จำได้ จากนั้นก็ต้องฝึกฝนซ้ำๆอีกให้คล่องแคล่ว จึงใช้เวลา และ อาศัยความพยายามอย่างมาก เหมาะกับ เทรดเดอร์ที่จริงจังมากเท่านั้น ดังที่ปกหนังสือเขียนไว้ว่า “For the serious trader” หากลองเทียบเคียงกับสาย Indicator แล้ว ใช้เวลาเรียนรู้น้อยกว่ามาก และ เห็นสัญญาณชัดเจนเช่น เส้นเขียวตัดเส้นแดงขึ้นก็ให้ซื้อ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เห็นชัดและง่าย, สาย Indicator จึงง่ายต่อผู้ที่เทรดใหม่ หรือ ไม่มีเวลาให้กับการเทรดมากนัก สาย Price Action เป็นการติดตามการเคลื่อนไหวของราคา ดังนั้นจึงต้องเริ่มจาก สิ่งทีเป็นพื้นฐานที่สุดบนกราฟ นั่นก็คือ ตัวแท่งเทียนนั่นเอง
Trend Bars and Doji Bars
ตลาดมีสองสภาวะใหญ่ๆ คือ เป็นเทรน หรือ ไม่เป็นเทรน (Side way / Trading Range) หากมองในระดับของแท่งเทียน ก็จะเป็น แท่งเทรน (ขาขึ้น/ขาลง) หรือ แท่ง sideway (Doji) สำหรับแท่งเทรน ควรจะมีลักษณะที่มีลำตัวแท่งใหญ่พอสมควร ยิ่งลำตัวใหญ่ก็ยิ่งบอกถึงความแข็งแรง ปกติ ลำตัวแท่งเทียนใหญ่ หมายถึงเทรนที่แข็งแรง แต่ถ้าเป็นแท่งที่ใหญ่มากที่มาหลังจากการเดินทางที่ต่อเนื่องมานาน หรือ การ Break out จะกลับเป็นแท่งหมดแรงแทน ซึ่งจุดนี้เองที่มือใหม่อาจจะไม่เข้าใจ และ ไปซื้อตามน้ำกันตลอด ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอาการติดดอย หรือ ติดเหวกันบ่อยๆ นั่นเอง
ส่วนแท่งเทียน Doji (โดจิ ในภาษาญี่ปุ่น) คือ แท่งเทียนที่มีขนาดลำตัวเล็กมาก หรือบางครั้งอาจจะไม่มีลำตัวเลย (เนื่องจาก ราคาเปิด และ ราคาปิดอยู่ที่เดียวกัน) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแรงซื้อกับแรงขายที่สมดุลกันนั่นแอง ในภาพ 1.1 แสดงถึงตัวอย่างของแท่งโดจิเอาไว้ ด้วยอักษร D
บางเรื่องที่เราอาจไม่เคยสังเกตเกี่ยวกับ Doji กับ Trend Bar ในบางกรณี Doji bar อาจจะเป็น Trending-Doji ได้ เช่น ถ้ามันยกตัวขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะเห็นได้จาก ภาพ 1.2 ด้านขวา TimeFrame 5 min จะมีชุดแท่งเทียนโดจิที่ระบุไว้ด้วยเลข 1 ซึ่งเรียงตัวกันยกขึ้นต่อกันสามแท่ง, ส่วนด้านซ้าย TimeFrame 15min แท่งเทียนโดจิสามแท่งนั้นได้รวมตัวกันเป็น Trend Bar ที่ระบุไว้ด้วยเลข 1 นั่นเอง
เหมือนกับที่ โดจิ ไม่ได้หมายถึงว่า จะเป็น sideway เสมอไป, ในบางกรณี แท่งเทรน ก็ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นเทรนเสมอไป สังเกต แท่งที่ระบุด้วย 1 ในรูป 1.3 (สีขาวใหญ่ แทบไม่มีใส้บนล่าง) ตัวมันเองเป็นแท่งเทรน ที่ดูเหมือนจะ break out ออก มาจาก ชุดโดจิ, แต่หลังจากนั้น ไม่มีแท่งคอนเฟิร์มตามมาเลย หากเจอกรณีแบบนี้แล้ว เราได้ตามเข้าซื้อขึ้นไป ให้คัทลอส ที่ราคาต่ำกว่า ตัวแท่ง 1 เล็กน้อย นั่นคือเมื่อจบแท่ง 2 ในรูปนั่นเอง
Signal Bar
ในการพูดถึงแท่งเทียน มีคำศัพท์อยู่สี่คำ ที่ควรจะรู้จักไว้ คือ
1. Candle Pattern คือ ชุดกลุ่มของแท่งเทียน ที่มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อเห็นอีกครั้งเราจะบอกได้ว่ามันมีลักษณะเหมือนที่เคยเห็นก่อนหน้านี้
2. Setups คือ รูปแบบของแท่งเทียนที่เมื่อเทรดเดอร์เห็นแล้ว มั่นใจว่าถ้าเข้าออเดอร์แล้วจะกำไร ซึ่ง Setups จะมีสองแบบ บางครั้ง Setup อาจจะเป็นกลุ่มแท่งเทียนที่เราเรียกกันว่า Candle Pattern แต่บางครั้งอาจจะป็นแท่งเทียนแท่งเดียวก็ได้
3. Signal Bar คือ แท่งเทียนสุดท้ายก่อนจะเข้าออเดอร์ (Signal Bar จะเป็นส่วนหนึ่งของชุด Setups)
4. Entry Bar คือ แท่งเทียนที่เราได้เข้าออเดอร์ไป
จากคำศัพท์ทั้งสี่ที่กล่าวมา สิ่งที่เทรดเดอร์มองหามากที่สุดคือ Signal Bar นั่นเอง, Signal Bar ที่เราควรจะมองหาคือ Signal Bar ที่เป็นสัญญาณให้เข้าออเดอร์ ทิศเดียวกับเทรน, การใช้ Signal Bar ที่ สวนเทรน หรือ โดจิ มีโอกาสที่จะล้มเหลว (สัญญาณหลอก) ได้ง่าย เราควรจะเข้าออเดอร์เมื่อตลาดเลือกทิศเรียบร้อยแล้วว่าจะขึ้น หรือ ลง โดยอย่างน้อยที่สุดก็ควรจะแสดงอย่างชัดเจนแล้วใน Signal Bar เป็นต้นไป
Signal Bar ที่รู้จักกันดีที่สุดคือ แท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น ซึ่งจะมีสมบัติดังข้างล่าง ซึ่งอาจจะมีสมบัติหลายข้ออยู่ในแท่งเดียวกันก็ได้ (รูปชุดนี้ผมวาดเพิ่มเอง จึงไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าไหร่ แต่ก็คงจะสื่อในสิ่งที่ต้องการแสดงไว้ได้)
- ราคาเปิดใกล้หรือ ต่ำกว่าราคาปิดของแท่งก่อนหน้า ราคาปิดอยู่เหนือราคาเปิดของตัวเอง ราคาปิดอยู่เหนือราคาปิดของแท่งที่แล้ว (สมบัติทั้งสามข้อต้องมีในแท่งเดียวกัน)
- ใส้เทียนล่างยาวประมาณ 1/3 ถึง 1/2 ของลำตัว และ ใส้บนน้อยมากหรือไม่มีเลยยิ่งดี
- แท่งก่อนหน้ากับแท่งปัจจุบัน มีส่วนที่ overlap น้อยมาก
สำหรับ แท่งเทียนกลับตัวขาลง ก็มีลักษณะแบบเดียวกัน แต่ กลับทิศทาง แต่ แท่งเทียนกลับตัวอย่างเดียว ให้น้ำหนักไม่พอสำหรับการเข้าออเดอร์ เราจะต้องดูบริบทรอบข้างประกอบด้วยเสมอ โดยเฉพาะแท่งก่อนหน้า แท่งกลับตัวด้วย
ถ้าเทรนเก่านั้นแรงมาก เราจำเป็นต้องรอให้ทะลุ เส้น Trend Line ก่อน (กำกับด้วยเลข 1 สีส้ม) แล้วรอให้ราคากลับมาทดสอบเส้น Trend Line นั้นๆอีกรอบ จากนั้นถ้ามี แท่งเทียนกลับตัวที่สวยงามและแข็งแรง บริเวณ Trend Line (กำกับด้วยเลข 2 สีน้ำเงิน) ถึงควรจะเข้าออเดอร์
แล้วทำไมถึงต้องรอให้มีการทดสอบกันอีกรอบ ? คำอธิบายมีอยู่ว่า เมื่อตลาดขาลงกำลังจะจบ คนซื้อขึ้นเริ่มเข้ามาซื้อ แล้ว ราคาก็ขึ้น แต่เมื่อราคาได้กลับมาบริเวณ Low เดิม มันเป็นบททดสอบครั้งสำคัญของฝั่งซื้อ ว่า จะยังมีแรงซื้อที่แข็งแรงเข้ามาอีกไหม หรือว่า จะถูกแรงขายเอาชนะ แล้วกดราคาให้เป็น New Low ในกรณีที่แรงขายไม่สามารถเอาชนะแรงซื้อ (เพื่อกดราคาลงต่ำกว่าเดิมได้) มันจะกลายสัญญาณที่ชัดเจนว่า แรงขายแพ้ แรงซื้อชนะ ซึ่งจะส่งผลให้ทุกคนมั่นใจว่าเป็นขาขึ้น ทำให้กลายเป็นขาขึ้นที่แข็งแรงนั้นเอง นี่คือเหตุผลว่า ทำไม Double Bottom, Double Top ถึงได้สัมฤทธิ์ผลบ่อยๆ รวมทั้งเป็นเหตุผลว่า ทำไมตลาดจะยังไม่เป็นขาขึ้นที่แข็งแรง จนกว่า จะได้กลับมาทดสอบ Low เดิมอีกครั้งและเอาชนะสำเร็จนั่นเอง (เพราะทุกคนยังไม่ได้เห็นภาพที่ แรงซื้อ K.O. แรงขายให้เห็นชัดๆ นั่นเอง)
False Reversal Bar
พูดถึงเรื่อง แท่งเทียนกลับตัวต่อจากตอนที่แล้ว ว่า แม้ว่าตัวแท่งเทียนกลับตัวจะสวยในตัวแท่งมันเอง แต่ก็ต้องดูบริบทสิ่งแวดล้อมด้วย เพื่อพิจารณากว่าเป็นการ Setup เพื่อกลับตัวจริงไหม ตอนนี้เราจะมาพิจารณาแท่งเทียนที่ดูเหมือนจะกลับตัว แต่ ไม่ใช่การกลับตัวจริงๆ กัน (False Reversal)
ถ้าแท่งเทียนกลับตัว มีส่วนที่ overlap กับแท่งก่อนหน้ามาก มันอาจจะเป็นแค่ส่วนหนึ่งของ sideway ไม่ใช่การกลับตัวจริงๆ เช่นเดียวกับ กรณีถ้าหางของแท่งเทียนกลับตัวยาวเกินกว่าแท่งเทียนก่อนหน้า(แม้จะเพียงเล็ก น้อยก็ตาม) ซึ่งหากเจอแท่งเทียนกลับตัวในสภาวะบริบทรอบข้างเช่นนี้ เราก็ไม่ค่วรเข้าออเดอร์โดยคาดว่าจะกลับตัว
- สองกรณีนี้ ไม่ใช่ setup เพื่อกลับตัวที่แท้จริง แต่จะเป็นส่วนหนึ่งของ sideway มากกว่า
- ถ้าลำตัวของแท่งเทียนเล็กจนเป็นโดจิ แต่ทั้งแท่งซึ่งรวมหางด้วยนั้นใหญ่ แบบนี้ก็ไม่ควรเข้าเทรด เพราะเป็นการแสดงถึง sideway ในตัวแท่งนั้นๆ เราควรจะรอดูแท่งต่อไปมากกว่า
- ถ้าแท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น มีใส้ยาวๆที่ด้านบน แปลความมายได้ว่า
ฝ่ายซื้อได้หมดความเชื่อมั่นไปก่อนที่เวลาปิดแท่ง
จึงไม่ได้ทุ่มเทซื้อจนปิดแท่ง ซึ่งย่อมทำให้โอกาสในการกลับตัวย่อมลดลง
- ถ้าแท่งเทียนกลับตัวขาขึ้นปัจจุบันนั้นเล็กกว่า (โดยเฉพาะถ้าลำตัวเล็ก)
เมื่อเทียบกับ แท่งกลับตัวขาลงสีแดง แท่งล่าสุดที่ผ่านมา
แสดงว่ามีแรงกลับตัวขึ้นน้อย แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าแท่งปัจจุบันมีลำตัวใหญ่
(แม้ทั้งแท่งจะเล็กกว่าแท่งกลับตัวแดงก่อนหน้า) และ
อยู่ในบริบทสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม ก็จะช่วยให้มีแรงมากขึ้น'
- ถ้าเทรนเก่านั้นยังแข็งแรงอยู่ จะพบกรณีที่ ตอนต้นแท่งเทียน ก่อตัวเป็นรูปแท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น แต่ เมื่อใกล้จะถึงเวลาปิดแท่งเทียน ราคากลับถล่มลงมาปิดต่ำ ทำให้แทนที่จะได้แท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น กลับได้ แท่งเทรนขาลงแทน จึงต้องให้ความสำคัญของเวลาที่เหลือสำหรับปิดแท่งเทียนด้วย
- ถ้าเจอแท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น ที่ลำตัวเล็กมาก จำเป็นต้องพิจารณาแท่งก่อนหน้าร่วมด้วย แม้การมีหางล่างที่ยาว แสดงถึงพลังการซื้อจริงๆ แต่ การที่ลำตัวเล็ก อาจจะทำให้ราคาปิดของแท่งกลับตัวปัจจุบัน อยู่เหนือแท่งก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย และยิ่งหากมีการ overlap กันมาก ก็จะแสดงความเป็น sideway ใน time frame ที่เล็กกว่า ถ้าเจอกรณีนี้ ก็ต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเพิ่มเติม ก่อนจะเข้าออเดอร์
ในรูป 1.5, แท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น (กำกับด้วย 1) overlap มาก กับสี่แท่งก่อนหน้า แสดงได้เห็นถึงการมีพลังจาก ทั้งฝั่งซื้อ และ ฝั่งขาย เมื่อแรงสองฝั่งเท่ากัน ย่อมหมายความว่า ฝั่งซื้อยังไม่ชนะ จึงยังเป็นไปไม่ได้ที่จะกลับตัวขึ้นไป ฉะนั้น แท่ง 1 ไม่ใช่ signal สำหรับการเข้าซื้อขาขึ้น ส่วนแท่งเทียนที่กำกับด้วยเลข 2 ในรูป 1.5 เป็นแท่ง signal ที่ ยอดเยี่ยมสำหรับขาลง เพราะอย่างแรกคือมันหักล้าง ภาพแท่งเทียนกลับตัวขาขึ้นก่อนหน้ามัน (กำกับด้วย 1) อย่างที่สองคือ มันได้ย้อนกลับมาเข้าสู่ Trend Line ที่ลากมาจาก High ของวันได้ (เส้นสีม่วง)
กรณีที่ตลาดกำลังเป็น sideway down นั่นคือ มันกำลังสร้าง Bear Flag,
เทรดเดอร์ที่ฉลาดจะพยายาม Sell ที่ใกล้ๆ High และ จะเข้า Buy ที่ ใกล้ๆ Low
(จะเข้า Buy ก็ต่อเมื่อ Setup นั้นผิด เพราะในตลาดขาลง ปกติจะหลีกเลี่ยง
การ Buy) ซึ่งตรงกับกลักการ Buy Low Sell High
อันเป็นหลักการที่ดีที่สุดข้อหนึ่งของการเทรด
แท่งเทียนกลับตัว ที่มีหางยาว และ ลำตัวเล็ก ต้องพิจารณาบริบทสิ่งเวดล้อมก่อนหน้ามันร่วมด้วย ในรูป 1.6 แท่งเทียนกลับตัว หมายเลข 1 เป็นแท่งเทียน Break out ลงล่าง ของ Channel ขาลงในภาวะที่ oversold ไปมากอยู่ก่อนแล้ว (ข้อสังเกตผู้แปล : มีคำที่แสดงถึงคำว่าลง ถึงสามครั้งในหนึ่งข้อความ) เมื่อมาถึงการ Break out นี้ Seller ที่กำไรแล้ว ย่อมอยากจะปิดทำกำไร จึงไม่มีแรงขายมาเพิ่มเติม กลับจะมีแรงซื้อจากการปิดทำกำไรแทน (เพิ่มเติมจากผู้แปล : นี่คือ false break out ที่พูดถึงไว้ในตอนที่ 1 ว่า ถ้าเกิดการ Break out ต่อจากการวิ่งมานานแล้ว มักจะเป็น False Signal เพราะเช่นเดียวกับกรณีที่ว่า ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะให้คนที่วิ่งมาราธอนมาไกลมากแล้ว ระเบิดพลังมา sprint สุดแรง เพื่อเริ่มวิ่ง 100 เมตรต่อทันทีโดยไม่ได้พัก การทำแบบนั้นจะกลับทำให้หมดแรง แทนที่จะวิ่งไปต่อได้) พิจารณา แท่งเทียน สีขาว หมายเลข 2 ในรูป 1.6 ต่อ จะเห็นว่า มีการ overlap ประมาณ 50% กับ แท่งก่อนหน้า (สีดำใหญ่) รวมทั้ง overlap กับแท่งก่อนหน้านั้นอีกหลายๆ แท่ง เป็นการแสดงออกถึงสภาวะตลาด sideway มากกว่าการเป็นแท่งเทียนกลับตัว นอกจากนั้น นอกจากนั้น Low ก็อยู่บริเวณเดิมก่อนหน้านี้ ซึ่งแสดงออกยิ่งชัดว่า เป็น sideway ดังนั้นเราไม่ควรเข้าเทรดที่แท่ง 2 นี้ จนกว่าตลาดจะเฉลยออกมา มากกว่านี้
Other Reversal Signal Bar (รูปแบบการกลับตัวอื่นๆ)
สำหรับสองตอนที่ผ่านมา เราได้พิจารณาถึง Reversal Signal Bar ที่ดีที่สุดคือ ไปแล้ว ตอนนี้มาดู Signal Bar แบบอื่นๆ กันบ้าง ตัวอย่างข้างล่างคือ Reversal Signal Bar ที่ดีพอสมควร สำหรับเข้าเปิดออเดอร์ โดยคาดหมายการกลับตัว (บาง Signal เป็น รูปแบบที่ใช้ 2 แท่งเทียน) ในส่วนนี้จะทำการ List รูปแบบ Reversal Signal Bar ทั้งหมดออกมาก่อน จากนั้น ถึงจะค่อยๆ พิจารณารายละเอียดของแต่ละแบบทีหลัง
Reversal Signal Bar แบบ Small Bar
- Inside Bar เดี่ยว (Note ผู้แปล : คิดว่าอันเดียวกับ สิ่งที่ในภาษาวิชาแท่งเทียนเรียกว่า Harami คือ เกิดแท่งเทียนที่เล็กกว่าแท่งก่อนหน้า และ อยู่ในขอบเขตของแท่งก่อนหน้าทั้งหมด, ซึ่งแปลความหมายได้ว่า กำลังจะกลับตัว)
- รูปแบบ ii (inside bar เล็กๆที่ ค่อยๆขยับไปทิศเดียวกัน 2 แท่งต่อกัน)
- รูปแบบ iii (inside bar เล็กๆที่ ค่อยๆขยับไปทิศเดียวกัน 3 แท่งต่อกัน)
- แท่งเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ high หรือ Low ของ แท่งใหญ่ (หรือ Doji) โดยเฉพาะถ้ามี body สีเดียวกับทิศที่กำลังจะกลับตัวไป แสดงให้เห็นว่า ทิศนั้นๆ กำลังชนะ
ต้องตระหนักไว้ว่าปกติแล้ว Doji เป็นสัญญาณการเข้าออเดอร์ที่ไม่ดี ถ้าคิดจะเล่นกับเทรน เพราะ Doji แสดงถึงสภาวะ sideway นั่นคือ อย่าเข้า Buy ที่ ราคา High และ เข้า Sell ที่ Low แต่มีกรณียกเว้นในการใช้ Doji เป็นสัญญาณเข้าออเดอร์ได้ คือ ในตลาด Sideway ให้เข้า Sell ที่ต่ำกว่า Doji ได้ ก็ต่อเมื่อ Doji นั้นเกิดที่บริเวณ High ของกรอบการวิ่งของราคา นั่นก็เพราะ Doji เป็น sideway เล็กๆ ซึ่งในกรณีนี้ Doji กำลังเกิดใน sideway ใหญ่ๆ คือ กรอบของราคา Sideway นั้นเอง (กรอบราคาเป็น Sideway ใหญ่, แล้วมี Doji ซ้อนอยู่ข้างในอีกทีเป็น Sideway เล็ก)
Reversal Signal Bar แบบอื่นๆ
- Outside Bars (ให้ดูบทต่อๆ ไป)
- Double Bottom Twin : หลังจากการลงมาอย่างหนัก เกิดแท่งเทียนสองแท่งติดกัน ที่มี Low เท่ากัน สัญญาณจะยิ่งชัด ถ้าหางล่างยิ่งสั้น หรือ ไม่มีหางล่างเลยยิ่งดี เป็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นไป
- Double Top Twin : หลังจากการขึ้นมาอย่างหนัก เกิดแท่งเทียนสองแท่งติดกัน ที่มี High เท่ากัน สัญญาณจะยิ่งชัด ถ้าหางบนยิ่งสั้น หรือ ไม่มีหางบนเลยยิ่งดี เป็นสัญญาณการกลับตัวลงไป
- Reversal Bar Failure : ถ้าเทรนใหญ่นั้นแรงมาก จะทำให้ Reversal Bar เกิดการล้มเหลวได้ แม้สัญญาณต่างๆ จะชัด เช่น ในภาวะกระทิงมากๆ ราคาก็ยังขึ้นไปต่อ แม้ว่าจะมีสัญญาณการกลับตัวลงไปที่ชัดเจนก็ตาม
- Shaved Bar (แท่งตัน) : ไม่มีหาง ที่ด้านหนึ่ง หรือ ทั้งสองด้าน ในภาวะเทรนมากๆ (Note ผู้แปล : คิดว่าผู้แต่งพยายามบอกว่า การดูแท่งตันเดียวๆ ไม่สามารถยืนยันอะไรได้มาก มีโอกาสจะเป็น False Signal สูง)
- Exhaustion Bar : แท่งเทรนขนาดใหญ่ ที่เกิดหลังจากการวิ่งมานาน แปลว่า มันเป็นแท่งหลอกที่จะกลับตัวต่างหาก ไม่ใช่แปลว่าจะวิ่งต่อเหมือนแท่งขนาดใหญ่ตามปกติ (Note ผู้แปล : เคยพูดถึงเรื่องนี้อย่างละเอียดไว้ใน ตอนที่ 1 ดังนี้ “ปกติ ลำตัวแท่งเทียนใหญ่ หมายถึงเทรนที่แข็งแรง แต่ถ้าเป็นแท่งที่ใหญ่มากที่มาหลังจากการเดินทางที่ต่อเนื่องมานาน หรือ การ Break out จะกลับเป็นแท่งหมดแรงแทน”) จะเห็นได้ว่า มี small bar หลายแบบ ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน และ มีข้อสังเกต ดังนี้
- small bar ทุกแบบแสดงให้เห็นถึง การที่ทั้งทิศขี้น และ ลง ไม่มีแรงทั้งคู่
- การอ่าน small bar ต้องอ่านควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมของมันด้วย
- ถ้า small bar มี body สีเดียวกับทิศที่ต้องการ เป็นสัญญาณที่ดี
- ถ้า small bar ไม่มี body เลย, ปกติไม่ควรเข้าเทรด เพราะโอกาสที่จะเดินทางในทิศที่ต้องการนั้นต่ำกว่า การจะแกว่งอยู่ทีเดิมมากเกินไป ไม่คุ้มกับการเข้าเสี่ยงเทรด
ส่วนนี้จะเริ่มพิจารณา Reversal Signal Bar ทีละแบบอย่างละเอียดกัน
1. Inside Bar เดี่ยว Inside Bar ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายในแท่งก่อนหน้าทั้งหมดก็ได้ อาจจะมีหางด้านหนึ่ง หรือ ทั้งสองด้าน มีปลายหางเท่ากับแท่งก่อนหน้ามันก็ได้
สัญญาณการกลับตัวนี้จะชัดขึ้น ถ้า Inside Bar นี้มีราคาปิดค่อนมาทางฝั่งที่จะกลับตัวลงไป (Note ผู้แปล : เช่นก่อนหน้านี้ราคาวิ่งขึ้นมาไกล แล้ว เกิด Inside Bar แท่งเล็กๆ ที่อยู่ภายในแท่งก่อนหน้า และ Inside bar นี้มีราคาปิด อยู่ครึ่งล่างของ Bar ก็แสดงชัดว่า เป็นสัญญาณการกลับตัวลงไป)
หากมี Inside Bar เกิดขึ้นตามหลัง Break out Trend Bar ขนาดใหญ่, มันอาจจะเป็นได้ทั้งแค่ การพักชั่วคราว หรือ อาจจะเป็นการกลับไปเลย, ถ้าสีของ Inside Bar เป็นสีเดียวกับ Break out Trend Bar ก็น่าจะเป็นแค่การพักเพื่อไปต่อ และน่าจะเป็นการกลับตัวไปเลย ถ้า Inside Bar มีสีตรงข้ามกับ Break out Trend Bar
Small Inside Bar เป็นจุดที่อ่อนไหวมาก เพราะจะมีเทรดเดอร์ทั้งสองฝั่งเข้ามาเปิดออเดอร์ เช่น ในวันที่ราคาลงมาตลอด แล้วเกิด Bull Break Out ขึ้นไป จากนั้นถ้ามี Small Inside Bar เกิดขึ้น เทรดเดอร์จะเปิด Buy ที่ราคาสูงกว่า High ของ Small Inside Bar นั้นๆหนึ่งช่อง (หรือ 1 tick) โดยจะเตรียมเปิด ออเดอร์ Sell (Pending Sell Order) เพื่อทำหน้าที่เป็น Stop Loss เอาไว้ที่ ราคาต่ำกว่า Low ของ Small Inside Bar นั้น ซึ่งถ้าเป็นการ Break out ขึ้นไปจริงๆ Sell Order ก็จะไม่ต้องเปิด แต่ถ้าเป็นแค่ False Break Out แล้วราคาลงไปต่อ เทรดเดอร์ก็จะต้องพิจารณาการเปิด Sell Order นั้น และ จะต้องพิจารณาถึงการเพิ่มปริมาณ Order Sell ด้วยเพื่อชดเชยกับที่โดน False Break out เมื่อกี้หลอกมา จะเห็นได้ว่า เป็นกระบวนการที่ต้องตัดสินใจเยอะ ภายในระยเวลาสั้นๆ จึงมักจะถูกอารมณ์เข้าครอบงำได้ง่ายมากในบริเวณนี้, จึงต้องระวัง ไม่ให้ถูกอารมณ์ครอบงำ เพราะความสับสน และ อารมณ์ จะทำให้ความสามารถในการมองตลาดอย่างชัดเจนนั้นลดลง
สำหรับ Inside Bar ที่เกิดในตลาด Swing เป็นสัญญาณของการจบรอบการแกว่ง,
โดยเฉพาะถ้าตัว Inside Bar มีสีตรงข้ามกับ Trend ย่อยที่เดินทางมา หรือ
Inside Bar นั้นไปเกิดใกล้ๆกับ แนวรับ/แนวต้าน สำคัญ (เช่น Trend Line, ขอบ
Channel, High/Low ของกรอบราคา Sideway, Hig/Low ของราคาเก่า)
จะทำให้สัญญาณการกลับตัวชัดขึ้น, และ จะยิ่งชัดขึ้นอีกถ้า Inside Bar
มีหน้าตาเป็น Reversal Bar ด้วย โดยปกติแล้ว ในกรณีนี้ ให้เข้า Buy ที่ Low
และ เปิด Sell ที่ High (Note ผู้แปล : ผมเรียกลักษณะแบบนี้ว่า เล่น
Counter), ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีชุด Swing เกิดขึ้นอยู่
โดยราคาวิ่งขึ้นมาเรื่อยๆ แล้วเกิด Small Bar ตอนที่ราคาชน Bear Trend Line
ที่กดไว้ ให้ทำการเปิด Sell (เช่นเดียวกับ ถ้าราคามาชน Bull Channel Line
ขอบบน ก็ให้เปิด sell)
แต่ถ้าราคาทำการ Swing ลงมาก่อน แล้วเกิด Small Bar ก็ให้พิจารณาที่จะเปิด Buy เท่านั้น สำหรับ Small Bar ที่เกิดในตลาด Trend small bar อาจจะไม่ได้เป็นสัญญาณ Reversal แต่อาจเป็นสัญญาณการเข้าทั้งสองทิศทางได้ เช่น ถ้าตลาดเป็นกระทิงมากๆ ราคากำลังขึ้นมาอย่าแรง เกิดแท่ง Bull ใหญ่ที่แข็งแรง, จากนั้น เกิด inside bar ใกล้กับ แท่ง Bull ใหญ่เมื่อกี้ แบบนี้ ควรจะเปิด Buy (Note ผู้แปล : ในตลาด Trend ชัดเจน เราไม่ควรเล่น Counter อยู่แล้ว ดังนั้นในกรณีนี้ไม่ควรเปิด sell อยู่แล้ว), หรือ ถ้าเป็น Small Bar ที่เกิดสูงกว่า High ของแท่ง Bull ใหญ่ก็เป็นสัญญาณ Buy เช่นกัน ถ้า Trend นั้นแข็งแรงพอ ความจริงแล้วในกรณีเหล่านี้ที่กล่าวมา (พวก Small Bar ที่ไม่ใช่ Reversal) ควรจะเข้า Buy เมื่อราคาย่อลงมาก่อนมากกว่า โดยเฉพาะ ถ้าพวก Inside Bar และ Small Bar ทั้งหลายเป็น Reversal Bar ด้วยก็ยิ่งควรจะรอ เพราะโอกาสย่อลงมามีสูง ก่อนจะเดินทางไปตามเทรน ต่อไป
ii Signal Bar (รูปแบบการกลับตัวอื่นๆ)
ในตอนที่แล้ว (ตอนที่ 4) เราได้พิจารณา Reversal Signal Bar แบบอื่นๆ ที่ดีพอสมควร แบบย่อยแรก คือ Inside Bar เดี่ยว (Note ผู้แปล : ที่เรียกกันว่า Harami) ซึ่งพิจารณาไปแล้วในตอนที่แล้ว ส่วนตอนนี้จะมาดู แบบอื่นๆ กันต่อ
Reversal Signal Bar แบบ Small Bar\
1. Inside Bar เดี่ยว (พูดไปแล้วในตอนที่แล้ว)
2. รูปแบบ ii (inside bar เล็กๆที่ ค่อยๆขยับไปทิศเดียวกัน 2 แท่งต่อกัน) รูปแบบ ii คือรูปแบบแท่งเทียนต่อกัน ที่มีแท่งเทียน inside bar สองแท่ง, แท่งแรกเป็น inside bar ปกติ (ราคาอยู่ภายในแท่งก่อนหน้าทั้งหมด), และมีแท่งที่สองเป็นแท่ง inside bar ของ inside bar แรกอีกทีหนึ่ง กล่าวคือ แท่งที่สองจะเล็กกว่า หรือ เท่ากับแท่งแรก (และจะมีรูปแบบ iii จะมีสามแท่งติด และจะให้สัญญาณชัดยิ่งกว่า)
ใน Time Frame ใหญ่กว่าเช่น 5min ถ้าพบรูปแบบ ii, หากมองละเอียดเข้าไปใน Time Frame เล็กกว่าเช่น 1min จะพบว่า มันคือรูปแบบ แบบ Double Bottom/Top ซึ่งมักจะเป็นการกลับตัว (อาจจจะเป็นเพียงแค่การย่อเล็กๆ หรือกลับตัวใหญ่เลย) นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมรูปแบบ ii อาจจะนำไปสู่การกลับตัวนั่นเอง
หลังจากราคามีการวิ่งระเบิดออก โดยเฉพาะถ้ามีการทะลุ Trend Line ออกไปตามเทรนเดิม แล้วเกิดรูปแบบ ii ขึ้นที่บริเวณแนวต้าน/รับหลัก มีโอกาสสูงที่จะเกิดการกลับตัวก่อนจะถึงเวลาอันสมควร (เป็น Failed Final Flag) แต่ถ้าเป็นการทะลุ Trend Line แบบสวนเทรนเก่า (การกลับตัวจาก Failed Final Flag) มักจะก่อให้เกิดการกลับตัวครั้งใหญ่ไปเลย
รูปแบบ ii นี้มักจะพบได้บ่อยใน Final Flag เพราะมันเป็นการแสดงถึง การมีแรงเท่ากันระหว่าง Bull กับ Bear แล้วนั่นเอง มันแสดงว่า พลังของฝ่ายที่อ่อนแอกว่า เริ่มเท่ากับฝ่ายที่แข็งแรงกว่าแล้ว อย่างน้อยก็เท่ากันชั่วคราว ถ้าเจอรูปแบบนี้ แปลความได้ว่า ฝ่ายที่อ่อนแอกว่า เริ่มพยายามเอาชนะ เมื่อเกิดการ Break out ตามเทรนเดิม
Stop Loss ของการเข้าออเดอร์แบบ ii คือ ที่ตำแหน่งไกลกว่า ปลายของทั้งสองแท่ง ii, แต่บางครั้งก็อาจจะเลือกใช้ Stop แบบแคบ โดยวางไว้ที่ ปลายของแท่งที่เล็กกว่าก็ได้ ถ้าแท่งเล็กนั้นค่อนข้างใหญ่อยู่แล้ว หลังจากเข้าออเดอร์แล้ว เมื่อแท่งเทียนที่เราเข้าหมดเวลา ก็ให้เลื่อน Stop Loss เข้ามา และ ตามดูอย่างใกล้ชิดว่า จะกลับตัวจริงหรือไม่ ถ้าเข้าถูก ราคาควรจะกลับตัวในระยะไม่กี่แท่งเทียนต่อมา ถ้าไม่กลับอาจจะเป็น Failure ซึ่งพบได้บ่อย ในกรณี Break out โดยเฉพาะถ้า รูปแบบ ii นี้เกิดตรงกลางของช่วงราคาการเทรดระหว่างวัน
Small Bar อาจไม่ใช่สัญญาณเข้าที่ดีเสมอไป โดนเฉพาะถ้าเจอรูปแบบ Small Doji (ยิ่งถ้าไม่มี body เลยนี่ยิ่งแย่ไปใหญ่) ซึ่งเกิดใกล้ๆกับ EMA และเกิดประมามณ 9-11 am รูปแบบนี้มีโอกาสสูงมากที่จะล้มเหลว จึงจำเป็นต้องดู Price Action อื่นๆ ก่อนจะเข้าเทรด (Note ผู้แปล : การเกิด Doji เป็นสัญญาณ Sideway อยู่แล้ว ยิ่งเกิดตรง EMA ซึ่งเป็นค่ากลางของราคา และในยามเช้าๆตอนตลาดนิ่งๆ หากคิดจะเข้าออเดอร์เพื่อหวังให้มันวิ่งแล้ว โอกาสจะผิดหวังก็คงจะสูงมาก)
3.รูปแบบ แท่งคู่ ถ้าตลาดเป็น Bull อย่างแรง บางครั้งจะมีแท่งเขียวสองแท่งที่ทีความสูงเท่ากัน และ มักจะมีใส้บนสั้นๆ นี่คือ Double Top Twin ใน Time Frame ใหญ่ และ Double Top ใน Time Frame เล็ก เช่น 1min, กรณีแบบนี้ ให้ เตรียมเข้า Long เมื่อราคาขึ้นไปสูงกว่าเดิม คือที่ปลายบนของแท่งคู่นั้น เพราะเรากำลังคาดหวัง Failed Double Top และที่ตำแหน่งนี้จะมี Stop Loss ของผู้เล่นฝั่ง Short อยู่ ซึ่งจะเป็น order ที่เข้า buy เป็นการช่วยเร่งเครื่องให้แก่ตลาด Bull ให้ขึ้นไปต่ออีกเมื่อมาถีงราคานี้ (Note ผู้แต่ง : กรณีนี้เป็นกรณีที่ ตั้งใจเล่นกับ False Signal, การเกิด Double Top ในกรณีทั่วไป ให้มองว่าจะลง, แต่ในกรณีพิเศษนี้เพราะตลาดเป็น Bull มากๆ ผู้แต่งจึงแนะนำให้เล่นกับ Double Top แบบล้มเหลวไปเลย คือ ให้มองว่าจะขึ้น แม้จะเกิด Double Top เป็นแผนซ้อนแผนอีกที) เช่นเดียวกับกรณีเมื่อกี้ ในภาวะที่ ตลาดเป็นเทรนขาลงหนักๆ ให้เข้า Short ตามที่ปลายล่างของ Double Bottom Twin
รูปแบบแฝดคู่ ขึ้น-ลง กับ ลง-ขึ้น ถูกเรียกด้วยหลายชื่อ แต่ทั้งสองแบบ มีแท่งเทรนสองแท่งสีตรงข้ามกัน ขนาดพอๆ กัน แล้ว overlap กัน (อาจเรียกว่า คู่แฝดตรงข้าม), ในรูปแบบ ขึ้น-ลง แท่งแรกคือ แท่งเทรนขึ้น (สีเขียวใหญ่) แท่งที่สองคือ แท่งเทรนลง (สีแดงใหญ่) ซึ่งในกรณีนี้เป็นรูปแบบสำหรับ การเข้า Sell (ถ้าตลาดไม่ได้อยู่ในสภาวะ sideway) ส่วนรูปแบบ “แฝดคู่ ลง-ขึ้น” ก็แป็นลักษณะที่เกิดจาก แท่งแดงใหญ่ตามด้วยแท่งเขียวใหญ่ ซึ่งจะเป็นรูปแบบสำหรับการเข้า Buy ทั้งสองแบบนี้ ก็คือ รูปแบบกลับตัวที่ใช้สองแท่งเทียน ซึ่งถ้าไปมองใน Time Frame ที่ใหญ่ขึ้น มันจะกลายเป็นรูปแบบกลับตัวด้วยแท่งเดียว ลองจินตนาการดูว่า ถ้าใน time frame 5 minute มีแท่งแฝดคู่ สองแท่งแบบนี้ แล้ว พอไปดูใน 10 minute สองแท่งนี้จะรวมกันได้เป็นแท่งเดียว หน้าตาเป็นใส้ยาวๆ ซึ่งแสดงถึงการกลับตัวนั่นเอง)
4.รูปแบบ แท่งเทรนใหญ่หัวตัน สำหรับแท่งเทรนใหญ่ (แท่งใหญ่หัวตัน) ที่เกิดในเทรนที่แข็งแรง ย่อมเป็นสัญญาณบอกว่า ตลาดกำลังมุ่งหน้าไปทิศทางเดียว ไม่ว่าจะไร้ใส้เทียนด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้าน แต่อย่างไรก็ตาม ในเทรนขาขึ้น หัวตันข้างบน ย่อมแสดงถึงความแข็งแรงในการขึ้น มากกว่า การที่หัวตันด้านล่าง นั่นเป็นเพราะแรงจำนวนมากที่บริเวณใกล้ๆ ราคาปิดด้านบน มาแสดงการดันราคาขึ้นไปต่อให้สูงกว่าเดิมนั่นเอง ดังนั้น แท่งเขียวใหญ่หัวตัน เป็นสัญญาณที่ดีในการเข้า Buy แต่ปกติแล้วมักจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าที่ตำแหน่ง ยอดหัวตันพอดี เพราะเมื่อเปิดแท่งเทียนใหม่ (ต่อจากแท่งเขียวหัวตันเมื่อกี้) ราคาก็มักจะกระโดดขึ้นไปสูงกว่านั้นแล้ว
ในกรณีที่เจอแท่งเทรนเขียวใหญ่ที่มีใส้บน 1 จุด หรือ เป็นแบบหัวตันด้านล่าง ก็ยังนับว่าเป็นสัญญาณที่แข็งแรง (เทียบกับ เขียวหัวตันด้านบน ซึ่งจะให้สัญญาณแข็งแรงกว่า) แน่ในกรณีนี้ มองแค่เหตุผลนี้ ยังไม่ดีพอสำหรับการเข้าซื้อ Buy ที่ตำแหน่งสูงกว่า High ของแท่งเขียวใหญ่นี้ ดังนั้นเราควรจะพิจารณาบริบท สิ่งแวดล้อมประกอบด้วย เช่น ถ้าแท่งเขียวใหญ่ ใส้บน 1 จุดนี้ เกิดในบริเวณ High เดิมของตลาด Sideway ที่มีขอบบนของ Channel ก็ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะไปเข้า Buy ที่ตำแหน่งสูงกว่า ด้านบนของแท่งเขียวใหญ่นี้ เพราะแท่งเขียวใหญ่นี้ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบขอบบน แล้วย้อนลงมา ซึ่งมีโอกาสสูงกว่าจะเป็นการ Break Out ออกไปสำเร็จนั่นเอง
เทียบเคียงกับ กรณีแท่งเขียวใหญ่หัวบนตัน, แท่งแดงใหญ่ หัวล่างตัน ในตลาดหมีอย่างแรง ก็จะเป็น สัญญาณเข้า Sell ตามที่ 1 tick ต่ำกว่าราคา Low ของแท่งแดงใหญ่นั้น
แม้ว่าแท่งเทรนใหญ่ ที่มีทิศเดียวกับเทรนหลักนั้น ปกติแล้วจะแสดงการไปต่อ, แต่ถ้าเกิดแท่งเทรนที่ใหญ่ผิดปกติ มักจะเป็น แท่งหมดแรงแทน เช่นในตลาดกระทิง แท่งเทรนสีเขียวใหญ่ผิดปกตินั้นจะแสดงถึงการซื้อไม้สุดท้าย ก่อนจะกลับตัวลงไป (Note ผู้แปล : เคยพูดถึงเรื่องแท่งเทียนใหญ่หลอกนี้ ในตอนที่ 1 แล้ว), แม้ว่าสัญญาณการกลับตัวใดๆ สามารถใช้เป็นสัญญาณเข้าออเดอร์ได้ แต่การรอจังหวะสอง คือรอแท่งเทียนกลับตัว เป็นการเข้าที่ปลอดภัยที่สุด ถ้าจะเล่นสวนเทรน
นอกจากนั้นก็ต้องระวังเรื่อง แท่งเทรนใหญ่ ที่เกิดตอน Break out มักจะไปต่อไม่ไหวในแท่งต่อมา กลายเป็นกับดักที่ทำให้มีเทรดเดอร์ที่ซื้อผิดทางติดอยู่ในนั้น ไป (Note ผู้แปล : เคยพูดถึงเรื่องการ Break out Trend Line มักจะถอยกลับมาทดสอบ Trend Line และ Low เดิมก่อนบ่อยๆ) ซึ่งจะพบได้บ่อยในตลาด Side way เงียบๆ
ในสภาวะเป็นเทรน, ถ้าราคาพักตัว แล้วเกิด small bar นั่นเป็นสัญญาณให้เล่นตามเทรน, ใน Fig 1.7, แท่ง 1, 2, 4 และ 6 เป็นการพักตัวแล้ว เกิด small bar และ สิ่งที่พวกมันส่งสัญญาณคือ ให้ Short ไปตามเทรนขาลง โดยให้ตาม เมื่อราคา ต่ำกว่า Low ของแท่ง 1 แม้ว่าพวกมันจะเป็น Doji แต่พวกมันก็ไปตามเทรนใหญ่ ดังนั้นการ Short นี้ถือว่ามีเหตุผล
Small Bar อาจจะเป็นสัญญาเข้า Counter Trend ถ้ามันเกิดที่ Swing Low และถ้ามีเหตุผลอื่นๆ ในการเข้า Counter มาช่วยอีกด้วย แท่ง 3 เป็น Swing Low และเป็นชุดกลับตัวจากการลงมา (ที่เริ่มลงจาก แท่ง 2) แล้วแท่ง 3 ยังเป็น ขาลงที่สอง ในขาลงที่สองด้วย (Not ผู้แปล : คิดว่าผุ้แต่ง คงจะพูดเรื่อง ขาที่สอง ในบทอื่นภายหลัง) ซึ่งสองเหตุผลรวมกัน ทำให้แท่ง 3 เป็นสัญญาณ Counter Long ที่ดี (เพื่อขึ้นไปสู่ แท่ง 4 ที่เกิดต่อมาภายหลัง), แท่ง 5 เองก็เป็นสัญญาณ Long เพราะราคาเคยทำการ Break Trend Line มาแล้วตอนเกิดชุด 4 ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะกิดขาที่สอง ในการขึ้นไป และ แท่ง 5 ยังอยู่ตำแหน่ง Swing Low เดิมในสภาวะ Side Way ด้วย
ในกรณีเดียวที่ สามารถเปิด sell ที่ Low ได้คือ กรณีที่ตลาดเป็นตลาดหมี, แท่ง 8 ในรูปแม้ไม่ใช่ small bar แต่ก็เป็น inside bar ซึ่งทำหน้าที่เหมือน small bar และ แท่ง 8 ก็เป็น Trend Bar ด้วย ดังนั้นจึงปลอดภัยพอที่จะเปิด sell ที่ Low ของวัน, นอกจากนี้ แท่ง 8 ยังเป็น แท่งลักษณะแบบ ย่อตัวถอยกลับ หลังจาก Break out ใหม่ๆ แท่ง 8 จึงเป็นสัญญาเข้า sell ที่ดี
ตัวอย่างการกลับตัวต่างๆ จากกราฟจริง
ในตอนที่แล้ว (ตอนที่ 5) เราได้พิจารณา Reversal Signal Bar แบบอื่นๆ กันไป ส่วนตอนนี้จะมาดูรูปแบบเหล่านั้น ในสภาวะตลาดจริงกัน
ใน Fig 1.8, แท่ง 1 เป็นแท่งเทียนเล็ก หน้าตาเป็นแท่งกลับตัวขาลง แต่เป็นแท่งกลับตัวขาลง ที่ล้มเหลว มันเกิดตามหลัง แท่งขาขึ้นขนาดใหญ่ที่ทะลุ Trading Range ขึ้นมา ในวันที่เป็นขาขึ้น (มองว่าเป็นขาขึ้นเพราะแท่งเทียนส่วนใหญ่ อยู่เหนือ EMA ที่ยกตัวขึ้นมาเรื่อยๆ) ถ้าใจร้อนเสี่ยงเข้า short ที่แท่ง 1 ทันที โดยไม่รอสัญญาณคอนเฟิร์ม ก็จะโดนกับดัก(นั่นคือการไม่รอให้ได้เห็นราคาต่ำกว่า ราคา Low ของแท่ง 1) การเล่น Counter Trend ในวันที่เทรนแข็งแรง มักจะโดนกับดักเช่นนี้บ่อยๆและจะกินทุนไปเรื่อยๆ สำหรับคนที่ไปเข้าออเดอร์กับดักแบบนี้ เขาจะต้องยอม Stop Loss เมื่อราคาไปสูงกว่า High ของแท่ง 1 (ซึ่งการ Stop Short คือเป็นการเปิด Long ชนิดหนึ่ง) ณ จุดนั้นจึงเป็นจุดที่ดีในการเปิด Long เพราะจะมี Stop Short ทั้งหลายมาช่วยดันราคาขึ้นไปอีก, นี่เป็นตัวอย่างที่ดีว่า เพียงแค่แท่งเทียนกลับตัวแท่งเดียวนั้น ไม่เพียงพอในการเปิดออเดอร์ Counter Trend เพราะเงื่อนไขต่อมายังไม่เกิด นั่นคือการได้เห็นราคาต่ำกว่า Low เดิม สุดท้ายสัญญาณนั้นเลยกลายเป็น สัญญาณกลับตัวที่ล้มเหลว และ กลับไปเกิดสัญญาณเข้าออเดอร์ฝั่งตรงข้าม คือ เกิดสัญญาณเข้า Long แทน
ใน Fig 1.9, ชุดแท่ง Doji ทั้งก่อนหน้า และ หลัง แท่ง 1 นั้นไม่มีแท่งไหนเป็นสัญญาณที่ดีเลย เพราะพวกมันทั้งอยู่ตรงกลางของ ช่วงราคา sideway และ อยู่ใกล้กับ EMA ที่แบนราบ ซึ่งแสดงถึงภาวะ sideway สุดๆ
ส่วนแท่ง 3 เป็นแท่งเทรนขนาดยักษ์ ที่ทะลุ Low ของวัน และทะลุ Bear Trend Line ลงมาด้วย, จากนั้นเกิดแท่ง Bull inside bar ที่มีหัวบนตัน แปลได้ว่าแรงซื้อได้เริ่มเข้ามาอย่างรุนแรงและต่อเนื่องจนถึงเวลาปิดแท่ง นี่เป็นสัญญาณสำหรับการขึ้นที่สวยมาก อย่างน้อยก็ สำหรับรูปแบบการขึ้นแบบ สองขา (Note ผู้แปล : คาดว่าผู้แต่ง จะพูดถึงเรื่อง สองขา นี้เร็วๆ นี้ เพราะพูดถึงสิ่งคล้ายๆ กันนี้หลายรอบแล้ว แต่ยังไม่ได้มาชี้แจงรายละเอียด), และ แท่ง Bull inside bar (หลังแท่ง 3) นี้ยังอยู่ตำแหน่งขอบล่างของ Channel ด้วย จึงเป็นจุดเข้า Long ที่ดี โดยคาดหวังได้ว่า การขึ้นรอบนี้ควรจะย้อนขึ้นไปทดสอบจุดเริ่มต้นของ Channel คือแท่งเทียนเลข 2 ซึ่งภายหลังก็เฉลยว่า ไปถึงจริงๆ
ส่วนแท่ง 4 เป็นแท่งกลับตัวลงที่ล้มเหลว เพราะเกิดแท่ง 5 ซึ่งเป็น Bull Outside Bar ตามหลังมา ในภาวะกระทิงจัดแต่เดิมอยู่แล้ว (Note ผู้แปล : ก่อนหน้าจะมาถึง แท่ง 4 และ 5, มีแต่แท่งเทียน Bull ล้วน เป็นขาขึ้นแบบชัดเจน ซึ่งเรียกได้ว่า ภาวะกระทิงจัด) ซึ่งตำแหน่งนี้ เป็น สัญญาณเข้าตาม Long ที่ดี, เทรดเดอร์อ่อนหัด อาจจะ Short ไว้ ตอนราคาลงมาต่ำกว่า แท่ง 4 เพราะไม่รู้ว่า ในภาวะกระทิงจัด ไม่ควรเปิด Short ถ้าไม่มีการแสดงพลังของหมีก่อน (พลังของหมี เช่น การ Break Trend Line ลงไปสำเร็จเป็นต้น)
ใน Fig 1.10, บริเวณก่อนแท่ง 3 ราคาได้เปิด Gap ลงมา ต่ำกว่า Low ของเมื่อวาน แล้ว ย้อนขึ้นไปเหนือ EMA หากย้อนไปดูเมื่อวาน จะพบว่าราคาเคย Break Bear Trend Line ขึ้นไปถึงสามครั้ง จากนี้ไป จึงพอจะมีเหตุผลที่ดี หากคิดจะเปิด Long, แต่ก็ต้องรอสัญญาณทั้งสองอย่างให้ครบก่อนคือ 1.ให้รูปแบบเกิดสัญญาณซื้อ และ 2.เกิดแท่งเทียนกลับตัวสวย ซึ่งต้องมีทั้งคุ่ครบถึงจะเข้า Long ได้ในภาวะหมีเช่นนี้
แท่ง 3 เป็นแท่งที่ชัดเจนว่า ให้เข้า Long เพราะกลับตัวขึ้นมาจาก Low ด้วยหน้าตา แท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น และที่ใกล้ๆ กับจุดที่คาดว่าจะกลับตัวนี้ ก่อนหน้าไม่นานที่แท่ง 2 ก็เคยเกิดเหตุการณ์ Break Bear Trend Line ไว้แล้ว (ในภาพไม่ได้แสดง เส้น Bear Trend Line ไว้) ที่ตำแหน่งแท่ง 3 จึงเป็นสัญญาณให้เข้า Long
แท่ง 4 กับ แท่ง 6 สามารถใช้ในการสร้าง Trend Line แล้ว นำ Line แฝดไปวางอีกฝั่ง ที่ปลายแท่ง 5 เพื่อสร้าง Down Trend Channel ขึ้นมา ที่ High ของ แท่ง 6 ตอนนั้นอาจจะเป็น สัญญาณเตรียม Long แต่ว่าไม่มีแท่ง Bull ยืนยันการ Long ตามมา จึงไม่สามารถเปิด Long ได้ ซึ่งในตลาดหมีถ้าอยากจะ Long จำเป็นต้องรอแท่งยืนยันก่อน
แท่ง 7 ได้สร้าง High เอาชนะแท่งก่อนหน้ามันสำเร็จ แต่ตอนปิดได้สีแดง ซึ่งกรณีนี้จะถือว่าเป็นแค่การเด้งกลับ (Pull back) ในภาวะที่เด้งขึ้นมาจาก การแตะขอบล่างของ Channel ซึ่งเหตุผลนั้นยังไม่ดีพอที่จะเปิดออเดอร์ Long แท่งเทียน Bull เป็นสิ่งที่ต้องการอีกอย่างในการจะเปิด Long ได้ในกรณีนี้เช่นกัน
ต่อไปลองดูที่บริเวณแถวๆ แท่ง 8 เริ่มจากเกิดแท่ง Bear ลงไปแตะขอบล่างของ Channel ซึ่งเป็นการการแตะครั้งที่ 2 (ครั้งแรกแตะบริเวณ แท่ง 7) จากนั้นเกิดแท่ง Bull inside bar ตามหลังแท่งแดงนั้น แล้ว เกิด small bull inside bar แท่งที่สองตามหลังอีกที (แบบที่มี inside bar สองแท่งติดแบบนี้เรียกรูปแบบ ii ซึ่งเป็นสัญญาณกลับตัวแบบหนึ่ง) ทั้งสองแท่ง ii นี้ นอกจากจะเกิดหลังจากแท่งแดงที่ไปแตะขอบล่างของ Channel แล้ว บริเวณ แท่ง 8 ii นี้ยังเป็นการทำ Higher Low เทียบกับ Low เดิมที่บริเวณ แท่ง 3 (Note ผู้แปล : พูดง่ายๆ คือ 8 สูงกว่า 3 แปลว่า น่าจะเริ่มเป็นขาขึ้นแล้ว), รวมทั้งก่อนหน้านี้เคยมีการ Break Bear Trend Line แล้วในวันนี้ ในการวิ่งขึ้นจาก แท่ง3 ไปยัง 4, ที่ตำแหน่ง แท่ง 8 ii นี้จึงเป็นสัญญาณที่ดีมากในการเปิด Long (Note ผู้แปล : ผมว่าตอนนี้ได้ความรู้เยอะทีเดียว, แนะนำให้อ่านพร้อมๆ กับดูกราฟหลายๆ รอบ เพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งขึ้นว่า เหตุผลในแต่ละจุดคืออะไร มีกี่เหตุผล จะทำให้เราเก่ง Price Action ขึ้นมากทีเดียว ตอนหน้า เราจะมาดูตัวอย่างจากกราฟอื่นๆ กันต่อครับ)
อีก 4 ตัวอย่างการดูแท่งเทียนจากกราฟจริง
ตอนที่แล้ว ได้มาเริ่มดูตัวอย่างกราฟจริงพร้อมการวิเคราะห์ต่างๆ คราวนี้มาดูตัวอย่างกราฟจริงเพิ่มเติมกันอีกสัก 4 ตัวอย่างกัน
ใน Figure 1.11 ตำแหน่ง 5ii เป็นจุดเข้า Buy แบบความเสี่ยงสูง (Note ผู้แปล: คนที่ไม่รู้ว่าอะไรคือ ii ให้ย้อนไปอ่าน บทแปล Part 5 กับ 6 ของบทแปลชุดนี้) เพราะมันเป็นการทดสอบ Double Bottom และเห็นรูปแบบการกลับตัวที่ 5ii แต่ก็ยังเสี่ยงเพราะ ยังไม่ผ่าน Trend line ที่กดไว้ลงมาจาก 4 จากนั้นเมื่อมาถึง 6ii จะเป็นจุดเข้า Buy ที่สอง ที่เกิดเป็นสามเหลี่ยมชายธง ที่ลากสามเหลี่ยมมาได้ไกลจนทะลุ Trend Line ที่กดไว้ลงมาจาก 4 สำเร็จ
แท่ง 7 เป็นจุดเข้า Buy ที่สาม ที่เกิดจาก Failed-Failed (Failed แรกคือ ราคาล้มเหลวที่จะ Break ขึ้นไป จากนั้นก็พยายามลง แต่ก็ล้มเหลวในการลงเป็น Failed ที่สอง) ซึ่ง Failed ที่สองเป้นสิ่งที่ค่อนข้างเชื่อได้
ปกติ หากเกิด Double Bottom แล้ว ราคาย้อนขึ้นไป จากนั้นถ้ามีการพักตัวลงอีกรอบ จะมีการพักลงมาลึกมากว่า 50% (บ่อยครั้งที่จะลงไปถึงล่างสุดของ Double Bottom แล้วกลายเป็น Triple Bottom) แล้ว มักจะเกิด Higher Low และจะเป็นรูปโค้งที่ Low ใหม่นั้นๆ มุมมองหนึ่งจะอธิบายว่า มันเป็นการสะสมกำลัง อีกมุมมองที่สำคัญจะอธิบายว่า ตลาดไม่สามารถทำ Lower Low ได้ในการพยายามครั้งที่สาม (ครั้งที่สอง พยายามตอน แท่ง 3 ครั้งที่สามยายามอีกตอน แท่ง 5) เมื่อไม่สามารถลงไปต่ำกว่าเดิมได้ แรงขายก็เริ่มลังเล และ แรงซื้อเริ่มเข้ามาแทนที่ในที่สุด
ใน Figure 1.12 แท่ง 2 (แท่งเล็กๆก่อนหน้า แท่ง Bull ใหญ่) เป็นแท่งจิ๋ว ซึ่งเป็น Higher Low จึงเป็นจุดเข้า Buy ที่ดี ประกอบกับเหตุผลเรื่อง Failed Final Flag และ มันเองก็เกือบจะเป็น ii ด้วย ส่วน สองแท่งก่อนหน้ามัน ยังไม่ได้ Break Down Trend Line เป็นจุดที่ยังเสี่ยงสูง ยังไม่ปลอดภัยที่จะเข้า Buy ที่ตรงนั้น
สำหรับแท่ง 1 (แท่ง Reversal สีขาว) ยังไม่ใช่จุดเข้า Buy ที่ดี เพราะถ้าจะกลับตัวจริง ต้องการแท่ง Bull เต็มๆ อีกหนึ่งแท่ง เพื่อเอาชนะ Bear Trend ที่แข็งแรงแช่นนี้ได้ (ก่อนหน้านี้ มีแต่แท่งแดงลงมาต่อเนื่อง)
ใน Figure 1.13 กราฟใหญ่ด้านขวา (กราฟ 5 นาที) ที่บริวณ 1 เห็น iii และ ที่ 2 เห็น ii ถ้าไปดูในกราฟเล็กด้านซ้าย (กราฟ 1 นาที) จะเห็นว่า ที่บริเวณ 1 คือ Double Bottom Pull Back (Note ผู้แปล : จะมองว่า เป็น Triple Bottom ก็ได้ แต่ผู้แต่งตั้งใจสื่อว่า เราเห็น Double Bottom ก่อนแล้ว จะเข้าทำตอนย่อครั้งที่สาม จึงเรียก Double Bottom Pull Back)
ส่วน 2ii เป็นลักษณะ ที่ราคาพยายามทำ Lower Low ให้ต่ำกว่าแท่งแดงใหญ่ก่อนหน้า 2ii แต่ไม่สำเร็จ ปกติ ii จะเป็นสัญญาณบอกการกลับตัว ในที่นี้คือกำลังลงมาอยู่แล้วเกิด ii จากนั้นก็กลับตัวย้อนขึ้นไป ซึ่งในภาพนี้ ทั้งสองกรณี คือ 1iii และ 2ii จะมีแท่ง Bull ตบท้าย ซึ่งเป็นลักษณะที่ดีมากในการที่จะเปิด Long, เพราะใน ii ปกติแล้วจะมีแท่งเล็กที่ไม่ใช่ตัวบอกทิศที่ดี ดังนั้นการจะมีแท่งเทรนขนาดพอสมควรเป็นตัวจบอยู่ใน ii ที่ไปในทิศที่เราต้องการจึงเป็นสิ่งที่ดีมาก
ใน Figure 1.14 แท่ง 1 (สีขาวเล็กต่อจากแท่งแดงใหญ่) เป็น Double Bottom Twin ในเทรนขาลง ( Low เท่ากันสองแท่งติด) แบบนี้ให้เปิด sell ที่ราคาต่ำกว่า Low 1 ช่องราคา, หรือ อาจจะ sell ที่ต่ำกว่า แท่งพักตัวสีขาวแท่งที่สอง ต่อจากแท่ง 1 ซึ่งเป็นการเข้าเร็วขึ้น เสี่ยงขึ้น
แท่ง 2 (แท่ง inside bar สีขาวเล็ก) ก็เป็นลักษณะเดียวกับ แท่ง 1 วิธีทำเหมือนกับ แท่ง 1 (ให้เปิด sell เมื่อเห็นราคาต่ำกว่า Double Bottom Twin)
แท่ง 3 (แท่งสีแดงตัน ก่อนหน้าแท่งขาวใหญ่) เป็น Double Top Twin ที่ควรจะเปิด Long, วิธีมองเหมือนกันแท่ง 1 เพียงแต่กลับจาก Trend ขาลงเป็น ขาขึ้น (Note ผู้แปล: นั่นคือให้เปิด Long เมื่อราคาสามารถทำ New High ได้เหนือกว่า Double Top Twin นั้น)
ใน Fig 1.15 บริเวณเลข 1 มีแท่งคู่แฝดกลับตัว ลง-ขึ้น ซึ่งลงไปทดสอบ
Trend Channel Line, หากมองย้อนไปก่อนหน้าจะมาถึงจุดกลับตัว
มีการขายอย่างดุเดือดและต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ 16
แท่งจากในทั้งหมด 17 แท่งที่เกิดเป็น Lower High
โดยปกติเป็นไปไม่ได้ที่จะขายอย่างรุนแรงขนาดนั้นตลอดไป ดังนั้นพอเกิด
climax (จุดต่ำสุด) แล้วมักจะตามด้วย การปรับตัวขึ้น
ซึ่งมักจะเกิดต่อเนื่องหลายแท่งเทียน
ปกติเกิดอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงถ้าเป็นกราฟ 5 นาที
ใน Fig 1.16 แท่ง 4 เป็นแท่งคู่แฝด กลับตัว ขึ้น-ลง หลังจากทะลุ High เดิมของเมื่อวาน ทะลุ Bull Trend Channel ขึ้นมา และ หลังจาก ทะลุ small flag (แท่งเทียนรูปแบบสามเหลี่ยมชายธง) บริเวณแท่ง 3 ขึ้นมาด้วย
แท่ง 1 แท่งคู่แฝด ลง-ขึ้น แต่ไม่ใช่นัญญาณกลับตัวที่ดี เพราะสองแท่งลงก่อนหน้านั้นมี โมเมนตัมการลงมากเกินไป หลังจากคู่แฝดแรก ก็เกิดแท่งคู่แฝด ลง-ขึ้น อีกคู่ ซึ่งการเกิดคู่ต่อเนื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้ในบางครั้ง การเกิดแท่งเทียนสี่แท่งที่ overlap กันแบบนี้มันเป็น Bear Flag และ ในตลาดหมี ในภาวะ sideway คุณไม่ควรเข้าซื้อที่ราคาปิดของ แท่ง 1 เพราะมันจะกลายเป็น ด้านบนของช่วงราคา sideway แม้ว่า รูปแบบแท่งคุ่เป็นสัญญาณกลับตัว แต่การหยุดการวิ่งครั้งแรก หลังจากการ Break out ปกติมักเป็นแค่การพักตัว และ ตามด้วยการวิ่งต่อในทิศเดิม (Note ผู้แปล: พูดอีกแบบหนึ่งว่า หลังจากเริ่มวิ่งอย่างแข็งแรง การหยุดครั้งแรก มักไม่ใช่การกลับตัวทันที ดังนั้นอย่าเพิ่งสวนเทรนทันที)
แท่ง 2 แท่งหมีขนาดใหญ่ เป็นแท่งที่ให้ตาม short ที่ดี เพราะมีคนที่พลาด Buy ไว้ที่ High ของแท่งคู่แฝด (ราคาปิดของ แท่ง 1) และราคาก็มาพักตัวที่ EMA พอดี, จึงเป็นจุด Follow ตามเทรนขาลงที่ดี แต่ถ้าจะรอให้จบแท่ง 2 ก่อนค่อยเข้าอาจจะช้าไปหน่อยเพราะ จะเห็นว่า แท่ง 2 นี้มีราคาปิดที่ต่ำกว่า Low ของแท่งก่อนหน้ามันมาก และ มีคน short นำไปแล้วก่อนที่จะปิดแท่ง 2 นี้ ด้วยเหตุผลว่า เห็น Low หลังจากแตะเส้น EMA (Note ผู้แปล : เหมือนกับว่า ราคาได้มาพักที่ EMA แล้วก็แสดงอาการพักพอแล้ว และส่งสัญญาณจะลงต่อด้วยการเห็น Low ใหม่)
ใน Fig 1.17, แท่ง 1 เป็นแท่งหัวตัน ไร้หางทั้งบน และ ล่าง
เกิดในภาวะที่เห็นแรงขายเริ่มมากขี้นเรื่อยๆ
เป็นสัญญาณที่ชัดเจนสำหรับการให้ sell ตามเทรนไป เพราะแท่ง 1
นี้แสดงไว้ชัดว่า เกิดการขายอย่างรุนแรงตั้งแต่เริ่มแท่งเทียนจนถึงจบ
โดยไม่มีวี่แววของแรงซื้อเลย ดังนั้นแรงขายก็น่าจะเดินหน้าต่ออีก
ซึ่งกรณีแบบนี้ ปกติจะต้องเข้าออเดอร์ sell
ให้เร็วหน่อยเพราะราคาจะวิ่งเร็ว
แท่ง 2 เป็นแท่งหัวตัน ไร้ใส้ด้านบน เกิดในเทรนขาลง แต่เพราะก่อนหน้านั้นราคาไม่ได้ทิ้งดิ่งลงมา ในกรณีนี้ จึงไม่มีเหตุผลพอในการ sell แต่ก็มีเหตุผลอื่นคือ เกิด inside bar ก่อนหน้าในตลาดหมี จึงสามารถ sell ได้เช่นกัน
แท่ง 3 เป็นแท่งกระทิงหัวตันทั้งบน และ ล่าง แต่ก่อนหน้านั้นเป็นตลาดหมี จึงไม่ใช่สัญญาณสำหรับเข้า buy ทันที (Note ผู้แปล : ไม่เหมือนแท่ง 1 ที่เป็นแท่งลงตัน ในตลาดหมี ซึ่งให้ sell ตามได้ทันที) ถ้าดูแท่ง 3 คู่กับก่อนหน้า จะเห็นว่าเป็นแท่งคู่แฝดด้วย ซึ่งก็ช่วยเพิ่มน้ำหนักในการเข้า buy ได้อีก จึงพอจะเข้า buy ได้ อย่างน้อยก็สำหรับ การเล่นสั้นๆ (scalping)
ส่วน แท่ง 4 กับ แท่ง 5 ดูผิวเผิน หรือ ดูแท่งเดี่ยวๆ จะคิดว่าเป็นสัญญาณให้ตามเทรน เพราะเป็นแท่งหัวตัน แต่ที่จริงแล้ว ไม่มีความหมายใดๆ ในการตีความตามเทรนเลย เพราะพวกมันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการวิ่งอย่างรุนแรงของราคา (Note ผู้แปล : ผมจะพูดอยู่เสมอ ว่า การดูสัญญาณต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดู บริบท สิ่งแวดล้มด้วยเสมอ แท่งเทียนก็เช่นกัน อย่าดูและจดจำแท่งเดี่ยวๆ ต้องศึกษาทั้งหน้าตาแท่งเดี่ยว สิ่งแวดล้อมทั้งก่อนหน้ามัน และตำแน่งของมันด้วยเสมอ จึงจะครบถ้วน)
Fig 1.18 ในกราฟ 5 นาทีอันนี้ มีตัวอย่างที่ดี ที่พบได้บ่อยๆ หลายอัน
แท่ง 1 เป็น โดจิ ลำตัวขนาดจิ๋ว และเป็นแท่งที่ 3 แล้วที่มีการ overlap กันมาก หากเข้า Buy ที่ราคาเหนือ แท่ง 1 นี้คงเป็นการกระทำที่โง่ทีเดียว เพราะ EMA เองก็บอกอยู่ว่าราคาอยู่ต่ำกว่า EMA
แท่ง 2 เป็นแท่งกลับตัวที่ดี เพราะเกิด new Low ก่อน แล้วย้อนกลับมาไกล ทำให้เกิดหางยาว และ ยังย้อนกลับขึ้นไปต่อ ทำให้ได้ลำตัวขนาดพอสมควรด้วย แต่ก็มีสัญญาณแสดงความอ่อนแอบ้าง โดยมีใส้ด้านบน ซึ่งแท่งต่อมาได้ลบล้างความอ่อนแอนี้ ด้วยแท่งเทรนขนาดใหญ่ ซึ่งทะลุ Trend Line ออกไปด้วยกำลัง
แท่ง 3 เป็นแท่ง out side bar ที่เกิดหลังจากการหยุดพัก และ เป็นแท่ง Break out ทำ new High ของวัน ซึ่งปกติแล้ว out side bar แบบนี้จะเกิดขึ้นเร็วมาก จนตามเปิดออเดอร์กันไม่ค่อยทัน
แท่ง 4 เป็น แท่งโดจิที่เกิดที่ new High แต่โมเมนตัมจากการขึ้นนั้นแรงมาก และ แท่งกลับตัวนั้นอ่อนแอ (หางล่างยังยาว) จึงยังไม่ควรเข้า sell ตรงนี้ ควรจะรอสัญญาณ sell ครั้งที่สองก่อน (ปกติจะเกิดทีหลังจากนี้ ในระลองคลื่นต่อๆ ไป)
แท่ง 5 เป็นแท่งกระทิง out side bar ที่เกิดหลังจาก การพักตัว (Pull back) สู่ EMA ครั้งแรก ในตลาดกระทิงดุ จึงเป็นจุดที่น่า Long ตามเทรนเดิมมาก
แท่ง 6 เป็นแท่งกลับตัวที่ค่อนข้างเล็ก แต่เป็นสัญญาณ sell ครั้งที่สอง (ต่อเนื่องจาก ตอนเกิดแท่ง 4 เป็นสัญญาณ sell แรก) และ เป็นการขึ้นมาของคลื่นระลอกที่สอง นับตั้งแต่ (ขึ้นมาจาก แท่ง 2 มาพักที่ แท่ง 4 เป็นคลื่นแรก) แล้วก็ (ขึ้นจาก แท่ง 5 มาถึง แท่ง 6 เป็นระลองที่สอง) ซึ่งคลื่นระลองสองแบบนี้มักจะเกิดการกลับตัว
แท่ง 7 เป็น รุปแบบ ii ซึ่งอยู่ในเทรนลง ที่คาดว่า อย่างน้อยก็ต้องลงไปถึง EMA และ ควรจะข้าม EMA ได้ด้วย เพราะราคาเคยเข้าทดสอบ EMA แล้วครั้งหนึ่ง ตอนแท่ง 5, ซึ่งถ้าเข้า sell ที่นี่ต้องวาง Stop Loss ไว้ที่เหนือ High ของ ii นี้ โดยปกติแล้ว หากราคาใกล้กันมากเกินไป (มีพื้นที่ให้ราคาแกว่งน้อยไป) ก็อาจจะวาง Stop Loss ไว้ไกลกว่า High เล็กน้อย สำหรับคนที่เข้า Long ไว้ที่เหนือราคา High ของแท่ง 7 เขาจะเปลี่ยนฝั่งมา sell เมื่อราคาต่ำกว่า Low ของ 7 แท่งต่อมาจึงเกิด Out side bar ขนาดใหญ่ตามมา
แท่ง 8 เป็น Lower High (เทียบ 8 กับ 6 ตามภาพ) และเป็นโดจิ, ปกติแล้วเราไม่ควร sell ที่ขอบล่าง ของโดจิ เพราะโดจิแสดงภาวะ side way, แต่การเกิดแท่งโดจิสามแท่งติดกัน มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดการกลับตัว (Note ผู้แปล : เกิดโดจิหลายแท่ง เกิดนานๆ หมายความว่า แรงที่ขึ้นมาก่อนหน้านี้ได้หมดลงอย่างสมบูรณ์แล้ว เพราะการแสดงเกิดภาวะ sideway อย่างยาวนาน ย่อมหมายถึง แรงขึ้นกับลงเท่ากันแล้ว พร้อมจะไปด้านไหนก็ได้แล้ว) โดจิสามแท่งนี้ จึงทำหน้าที่เหมือนรูปแบบกลับตัว ii จึงมีเหตุผลที่ดีพอควรในการเข้า Sell
แท่ง 9 เป็นแท่งคู่แฝด ลง-ขึ้น (ซึ่งถ้าคุณจิตนาการออก มันคือแท่งเทียนกลับตัวหางล่างยาวใน time frame ใหญ่กว่า คือ 10 นาที) ที่มาทดสอบ Low เดิมที่บริเวณ แท่ง 5 และก็เป็นคลื่นระลอกที่ 2 นับตั้งแต่ แท่ง 6 ลงมา (Note ผู้แปล : คลื่นระลอกสอง มีเหตุผลตามที่ผุ้แต่งบอกไปก่อนหน้านี้ว่า มีโอกาสกลับตัวสูง เมื่อมีอีก 2 เหตุผลคือ เป็นแท่งคู่แฝดแสดงการกลับตัว และ เป็นการทดสอบ Low ของแท่ง 5 รวมเป็น 3 เหตุผลส่งเสริมกัน จึงน่าเข้า Buy มาก โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ EMA นั่นเอง)
แท่ง 10 เป็นแท่งหมี และมี Low เท่ากันในตลาดหมี จึงเป็น Double Bottom Twin Short ที่ให้เปิด short เมื่อราคาทะลุ Low เหล่านี้ลงไปได้
แท่ง 11 เกิดที่คลื่นลงระลอกที่สาม ก่อนแท่ง 11 เป็นแท่ง โดจิขนาดใหญ่ ส่วนแท่ง 11 เองมีหางล่างยาว ลำตัวเล็ก และ overlap กับแท่งก่อนหน้ามันอยู่เยอะ จึงควรตีความว่าโอกาสจะเกิดภาวะ sideway และรอดูตลาดต่อไป มากกว่าที่จะไปมองว่าแท่ง 11 เป็นแท่งกลับตัวทันที
(Note ผู้แปล : การเรียนรู้จากตัวอย่างจริง ดูเหมือนจะมีประโยชน์มากทีเดียว ตัวผมเองก็ชอบดูตัวอย่างจริงพร้อมคำอธิบายแบบนี้ ตอนหน้าก็จะยังมาดูตัวอย่างจริงแบบนี้กันต่ออีกครับ)
ตัวอย่างกราฟจริง Inside Bar
ตอนนี้จะเป็นตอนสุดท้ายสำหรับพวกตัวอย่างจากกราฟจริง ถึงเรื่อง Inside Bar ครับ เริ่มดูกันเลยครับ
ใน Fig 1.19 แท่ง 1 (แท่งดำใหญ่) เป็นแท่งที่เกิดต่อจาก แท่งกลับขึ้นสีขาว (ซึ่งเป็นแท่งกลับตัวที่ล้มเหลว ที่เกิดในภาวะเทรนลงที่แข็งแรง) แท่ง 1 นี้เป็นแท่งที่สวยมากสำหรับการเปิด Sell เพราะว่าคนที่ถูกดักโดยการเข้า Buy ไว้ตอนแท่งกลับตัวขึ้นล้มเหลวนั้น จะถูกบังคับให้ยอมแพ้ เมื่อราคาต่ำกว่า Low ของแท่งสีขาวนั้น (ปิด Buy เท่ากับ เปิด Sell แบบหนึ่ง) ซึ่งจะกลายเป็นแรงช่วยดันราคาลงไปต่อ
แท่ง 2 กับ แท่ง 3 เป็น small bar เกิดที่ขอบด้านบนของ TradingRange (กรอบการวิ่งของราคา) จึงน่าจะเปิด sell โดยเฉพาะในภาวะตลาดหมีที่แข็งแรงดังในรูป
ใน Fig 1.20 แท่ง 1 เป็น แท่งคู่แฝดกลับตัวแบบ Down-Up ซึ่งควรเข้า buy เกิดหลังจาก ทะลุ Open ของวัน แต่ เป็น Higher Low เมื่อเทียบกับ Low ของเมื่อวาน
แท่ง 2 เป็นแท่ง small bar กลับตัวสีดำ ที่เกิดที่ตำแหน่ง High ของ แท่งกระทิงขนาดใหญ่ และได้ไปทดสอบ EMA มันล้มเหลวที่จะกลับตัวลงไป จึงกลายเป็น สัญญาณเตรียมเข้า Buy ให้ Buy ตามเมื่อราคาสามารถทะลุ High ของมันขึ้นมาได้ ซึ่งจะเป็นการเข้าจังหวะที่สอง
แท่ง 3 เป็นแท่ง inside bar ที่เกิดหลังจาก มีการทะลุขึ้นไปของ Bull Trend Channel และ มีการทะลุ High ของเมื่อวานด้วย จึงกลายเป็นสัญญาณกลับตัวลงไป (Note ผู้แปล : ปกติแล้ว เมื่อมีการทำ New High มักจะตามด้วยการพักตัวก่อน)
แท่ง 4 เป็น โดจิ ลำตัวเล็กๆ ที่เกิดตามหลังโดจิอีกสองแท่ง, เป็นสัญญาณการกลับตัวลงไปที่ยังไม่ดีพอ เพราะทั้ง Low High และ Close กำลังยกตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงดูแล้วยังมีแรงขึ้นต่ออีก, แบบนี้ควรจะรอสัญญาณคอนเฟิร์มครั้งที่สองก่อน ซึ่งเกิดหลายแท่งต่อมา คือ ตรงแท่งขาวใหญ่ได้ Lower High แท่งดำใหญ่ ได้ Lower Low และ เกิดการทะลุ Trend Line ลงมาสำเร็จ
แท่ง 5 เป็น รูปแบบกลับตัว ii ที่พยายาม Break out ขึ้นไปแต่ไม่สำเร็จ จึงกลับตัวลงมา
แท่ง 6 เป็นแท่งที่ทะลุ Low ของวันไปเล็กน้อย (ตรงแท่ง 1) แล้วกลับตัวขึ้นมา เกิดเป็น Double Bottom
แท่ง 7 เป็นแท่ง โดจิ ที่มี High อยู่เหนือ EMA ได้ และถ้าเทียบกับแท่ง 6 มันเป็น Higher Low ด้วย ดังนั้นแม้ว่าลำตัวจะเล็ก แต่ก็เป็นสัญญาณการเข้า Long ตามเทรนที่ดี
แท่ง 8 เป็น inside bar ที่เกิดหลังจากการทะลุ High ของวัน (Note ผู้แปล : เกิดแบบที่เป็นลักษณะจำเป็นต้องพักตัว หลังจากได้ New High) และ หลังจากทะลุ Channel ขอบบนของขาขึ้น (Note ผู้แปล : แบบนี้เทียบได้กับแท่งใหญ่หมดแรง Exhaustion Strong Move) แต่ ถ้าดูชุดการขึ้นมาก่อนหน้า (ที่เริ่มขึ้นมาจากแท่ง 7) จะเห็นว่าโมเมนตัมการขึ้นนั้นแรงมาก จึงไม่ควรเข้าที่สัญญาณแรก ควรจะรอสัญญาณที่สอง ซึ่งก็เกิดตามมาตอนที่เกิดแท่ง 10 ที่เป็น Outside down bar และ เป็น Fail Bull Reversal Bar
แท่ง 9 (แท่งสีขาวขนาดเล็ก) จะมีคนที่ถูกดักเพราะเปิด Buy ด้วยเหตุผลว่าโมเมนตัมการขึ้นชุดที่แล้วเหลือเยอะ (ชุดที่ขึ้นมาจากแท่ง 7) แต่ถ้าดูดีๆ จะเห็นว่า แท่ง 9 นั้นเล็กกว่าแท่งเทรนสีขาวพวกนั้นมาก และ หลังจากเกิดแท่ง 10 (outside bar) ก็ต้องยอมแพ้ ทำการปิด Buy ซึ่งก็เหมือน เปิด Sell, ซึ่งจะทำให้เกิดแรงช่วยขายตามมาอีก
แท่ง 11 เป็นแท่ง Bull inside bar และมีการพยายามกลับตัวขึ้นไปเป็นครั้งที่สอง (ครั้งแรก เกิดที่แท่ง 9) และเริ่มมีการ Break Down Trend ขึ้นไป นอกจากนั้นมันยังเป็น EMA Gap ที่ห่างออกมาจาก EMA มาก ในวันที่ตลาดเป็น Sideway จึงเป็นสัญญาณ Long ที่ดี
ใน Fig 1.21 แท่ง 1 เป็นแท่งเทรนขึ้นขนาดใหญ่ แต่เกิดหลังจากวิ่งขึ้นมานานมากแล้ว จึงน่าจะพิจารณาว่าเป็นแท่งใหญ่หมดแรงมากกว่า (Exhaustion strong move) แบบนี้สิ่งที่ควรทำคือ รอ Short แต่ให้รอ เข้าจังหวะสอง (เพราะโมเมนตัมการขึ้นมาเยอะ จึงไม่ควรเข้าจังหวะแรก) ซึ่งก็คือ แท่ง 2 นั่นเอง (มีแท่งลง แท่งแรกเกิดหลังแท่ง 1 แต่เป็นจังหวะ Short แรก ซึ่งยังไม่ควรเข้า หากโมเมนตัมการขึ้นยังสูงมาก)
แท่ง 3 เป็นแท่งลงขนาดใหญ่ จากนั้นเกิดแท่งโดจิตามหลังมา อีกสองแท่ง ตัวโดจิเอง ไม่ใช่สัญญาณสำหรับ สวนเทรนที่ดีนัก จึงควรจะรอดูสัญญาณต่อไปมากกว่า
แท่ง 5 เป็นแท่ง Bull reversal ที่เกิดตามหลัง แท่งลงขนาดใหญ่หัวตัน (แท่งลง ที่เกิดหลังจากลงมาได้สักพักแล้ว) และยังเป็นการดันราคาลงไป ระลอกที่สามแล้ว นับตั้งแต่แท่ง 4 (ดูได้จากการเกิดแท่งเทียน Lower Low สามแท่ง) จึงเป็นการ Long แบบสั้นๆได้ (เล่นสั้นๆ = Scalp)
แท่ง 6 เป็น แท่งกลับตัวขนาดใหญ่ที่เกิดหลังจากทะลุขอบล่างของ Channel ขาลงทุกแบบที่สามารถวาดได้ จึงเป็นสัญญาณการกลับตัวที่ดีมาก (ดังที่บอกไปว่า ถ้ามีการทะลุขอบล่างของ Channel ขาลงอีก มันจะเข้าข่าย Exhaustion Strong Move) แต่ว่า ก่อนหน้าแท่ง 6 เป็นแท่งลงขนาดใหญ่ถึงสี่แท่งต่อกัน แสดงให้เห็นถึงโมเมนตัมการลงที่มากมาย จึงควรจะรอจังหวะสองก่อนค่อยเข้า Long ซึ่งก็คือ แท่ง 7 นั่นเอง (แท่งสีขาวแท่งที่สอง เกิดหลังจาก แท่ง 6) ซึ่งเป็น Oustide bar ที่เห็นทั้ง Higher Low (เทียบกับ แท่ง 6) และ เห็น Higher High (เทียบกับแท่งเทียนตั้งแต่ แท่ง 6 ขึ้นมา)\
ใน Fig 1.22 แท่ง 1 เป็นแท่งขนาดเล็กเมื่อเทียบกับแท่งลงขนาดใหญ่ก่อนหน้ามัน, มันยังเป็นการทดสอบ Low เดิมของวันด้วย สำหรับในวันที่ตลาดไร้แนวโน้มเช่นนี้ จึงเป็น สัญญาณการเข้า Long ที่พอใช้ได้ในระดับหนึ่ง
ใน Fig 1.24, แท่ง 1 เป็น
Outside Bar ในลักษณะ inside-outside-inside (ioi) (Note ผู้แปล :
สังเกตก่อนหน้าแท่ง 1 เป็นเทรนลงมาก่อน
แล้วก็เกิดรูปแบบกลับตัวขึ้นสวนไปที่แท่ง 1 โดยเกิดแบบ ioi
จากนั้นอีกไม่กี่แท่งก็กิดการกลับตัวย้อนลงไปอีก) จากนั้น แท่ง 2 ได้ทะลุ
insidebar แท่งขาวหลังแท่ง 1 การเข้า Long ที่แท่ง 2 ไม่ใช่การเข้าที่ดี
เพราะ inside bar (แท่ง i อันหลังของ ioi)นั้นใหญ่เกินไป และการ Long
นั้นจะกลายเป็นการ Long ที่ใกล้ High ของ ช่วงการแกว่งของราคา,
ปกติแล้วแท่งล้มเหลวเล็กๆ เป็นแท่งสัญญาณที่ดี
เพราะความเสี่ยงนั้นเล็กไปด้วย, เมื่อราคาต่ำกว่าแท่ง 2 ถ้า Short ลงมา
จะมีแรงหนุนจาก การที่ Long ไว้ต้องยอมแพ้และปิดที่ตำแหน่งนั้น
จึงส่งผลให้มีการลงต่อมาอีกสองระลอก ไปจนถึงเท่ง 4 และ แท่ง 2
ยังเป็นแท่งที่ล้มเหลวในการพยายาม Break Down Channel Line ขึ้นไปด้วย
คำว่า Price Action เป็นคำที่เริ่มได้ยินกันมากขึ้นเรื่อยๆในวงการเทรดบ้านเรา เมื่อก่อนเราจะคุ้นเคยกับคำว่า Technical Analysis และ ตามด้วยคำว่า Indicator, ซึ่ง Indicator เองเป็นระบบที่ง่ายต่อผู้ใช้ แต่ เนื่องจากสัญญาณมันถูกคำนวณจากแท่งเทียนหลายๆ แท่ง จึงก่อให้เกิดการ delay เป็นธรรมชาติ, แล้วถ้าไม่อยาก delay จะทำอย่างไรดี ? ก็จะมี Technical อีกแขนงหนึ่ง ที่จะใช้ ทักษะ การจดจำ รายละเอียดการเคลื่อนไหวของราคา มาใช้ในการตัดสินใจเทรดเลย นั่นก็คือ แขนง Price Action นั่นเอง
ในปัจจุบันยังไม่มีนิยามที่เป็นมาตรฐานของคำว่า Price Action, คำนิยามที่เป็นกลางที่สุดน่าจะเป็นหมายถึง “การเคลื่อนไหวทุกอย่าง ของราคาบนกราฟ” ซึ่งสาย Price Action เป็น แขนงที่ต้องคอยจดจำรายละเอียดการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง ต้องดูซ้ำๆ จนเริ่มเห็นรูปแบบ และ จำได้ จากนั้นก็ต้องฝึกฝนซ้ำๆอีกให้คล่องแคล่ว จึงใช้เวลา และ อาศัยความพยายามอย่างมาก เหมาะกับ เทรดเดอร์ที่จริงจังมากเท่านั้น ดังที่ปกหนังสือเขียนไว้ว่า “For the serious trader” หากลองเทียบเคียงกับสาย Indicator แล้ว ใช้เวลาเรียนรู้น้อยกว่ามาก และ เห็นสัญญาณชัดเจนเช่น เส้นเขียวตัดเส้นแดงขึ้นก็ให้ซื้อ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เห็นชัดและง่าย, สาย Indicator จึงง่ายต่อผู้ที่เทรดใหม่ หรือ ไม่มีเวลาให้กับการเทรดมากนัก สาย Price Action เป็นการติดตามการเคลื่อนไหวของราคา ดังนั้นจึงต้องเริ่มจาก สิ่งทีเป็นพื้นฐานที่สุดบนกราฟ นั่นก็คือ ตัวแท่งเทียนนั่นเอง
Trend Bars and Doji Bars
ตลาดมีสองสภาวะใหญ่ๆ คือ เป็นเทรน หรือ ไม่เป็นเทรน (Side way / Trading Range) หากมองในระดับของแท่งเทียน ก็จะเป็น แท่งเทรน (ขาขึ้น/ขาลง) หรือ แท่ง sideway (Doji) สำหรับแท่งเทรน ควรจะมีลักษณะที่มีลำตัวแท่งใหญ่พอสมควร ยิ่งลำตัวใหญ่ก็ยิ่งบอกถึงความแข็งแรง ปกติ ลำตัวแท่งเทียนใหญ่ หมายถึงเทรนที่แข็งแรง แต่ถ้าเป็นแท่งที่ใหญ่มากที่มาหลังจากการเดินทางที่ต่อเนื่องมานาน หรือ การ Break out จะกลับเป็นแท่งหมดแรงแทน ซึ่งจุดนี้เองที่มือใหม่อาจจะไม่เข้าใจ และ ไปซื้อตามน้ำกันตลอด ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอาการติดดอย หรือ ติดเหวกันบ่อยๆ นั่นเอง
ส่วนแท่งเทียน Doji (โดจิ ในภาษาญี่ปุ่น) คือ แท่งเทียนที่มีขนาดลำตัวเล็กมาก หรือบางครั้งอาจจะไม่มีลำตัวเลย (เนื่องจาก ราคาเปิด และ ราคาปิดอยู่ที่เดียวกัน) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแรงซื้อกับแรงขายที่สมดุลกันนั่นแอง ในภาพ 1.1 แสดงถึงตัวอย่างของแท่งโดจิเอาไว้ ด้วยอักษร D
บางเรื่องที่เราอาจไม่เคยสังเกตเกี่ยวกับ Doji กับ Trend Bar ในบางกรณี Doji bar อาจจะเป็น Trending-Doji ได้ เช่น ถ้ามันยกตัวขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะเห็นได้จาก ภาพ 1.2 ด้านขวา TimeFrame 5 min จะมีชุดแท่งเทียนโดจิที่ระบุไว้ด้วยเลข 1 ซึ่งเรียงตัวกันยกขึ้นต่อกันสามแท่ง, ส่วนด้านซ้าย TimeFrame 15min แท่งเทียนโดจิสามแท่งนั้นได้รวมตัวกันเป็น Trend Bar ที่ระบุไว้ด้วยเลข 1 นั่นเอง
เหมือนกับที่ โดจิ ไม่ได้หมายถึงว่า จะเป็น sideway เสมอไป, ในบางกรณี แท่งเทรน ก็ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นเทรนเสมอไป สังเกต แท่งที่ระบุด้วย 1 ในรูป 1.3 (สีขาวใหญ่ แทบไม่มีใส้บนล่าง) ตัวมันเองเป็นแท่งเทรน ที่ดูเหมือนจะ break out ออก มาจาก ชุดโดจิ, แต่หลังจากนั้น ไม่มีแท่งคอนเฟิร์มตามมาเลย หากเจอกรณีแบบนี้แล้ว เราได้ตามเข้าซื้อขึ้นไป ให้คัทลอส ที่ราคาต่ำกว่า ตัวแท่ง 1 เล็กน้อย นั่นคือเมื่อจบแท่ง 2 ในรูปนั่นเอง
Signal Bar
ในการพูดถึงแท่งเทียน มีคำศัพท์อยู่สี่คำ ที่ควรจะรู้จักไว้ คือ
1. Candle Pattern คือ ชุดกลุ่มของแท่งเทียน ที่มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อเห็นอีกครั้งเราจะบอกได้ว่ามันมีลักษณะเหมือนที่เคยเห็นก่อนหน้านี้
2. Setups คือ รูปแบบของแท่งเทียนที่เมื่อเทรดเดอร์เห็นแล้ว มั่นใจว่าถ้าเข้าออเดอร์แล้วจะกำไร ซึ่ง Setups จะมีสองแบบ บางครั้ง Setup อาจจะเป็นกลุ่มแท่งเทียนที่เราเรียกกันว่า Candle Pattern แต่บางครั้งอาจจะป็นแท่งเทียนแท่งเดียวก็ได้
3. Signal Bar คือ แท่งเทียนสุดท้ายก่อนจะเข้าออเดอร์ (Signal Bar จะเป็นส่วนหนึ่งของชุด Setups)
4. Entry Bar คือ แท่งเทียนที่เราได้เข้าออเดอร์ไป
จากคำศัพท์ทั้งสี่ที่กล่าวมา สิ่งที่เทรดเดอร์มองหามากที่สุดคือ Signal Bar นั่นเอง, Signal Bar ที่เราควรจะมองหาคือ Signal Bar ที่เป็นสัญญาณให้เข้าออเดอร์ ทิศเดียวกับเทรน, การใช้ Signal Bar ที่ สวนเทรน หรือ โดจิ มีโอกาสที่จะล้มเหลว (สัญญาณหลอก) ได้ง่าย เราควรจะเข้าออเดอร์เมื่อตลาดเลือกทิศเรียบร้อยแล้วว่าจะขึ้น หรือ ลง โดยอย่างน้อยที่สุดก็ควรจะแสดงอย่างชัดเจนแล้วใน Signal Bar เป็นต้นไป
Signal Bar ที่รู้จักกันดีที่สุดคือ แท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น ซึ่งจะมีสมบัติดังข้างล่าง ซึ่งอาจจะมีสมบัติหลายข้ออยู่ในแท่งเดียวกันก็ได้ (รูปชุดนี้ผมวาดเพิ่มเอง จึงไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าไหร่ แต่ก็คงจะสื่อในสิ่งที่ต้องการแสดงไว้ได้)
- ราคาเปิดใกล้หรือ ต่ำกว่าราคาปิดของแท่งก่อนหน้า ราคาปิดอยู่เหนือราคาเปิดของตัวเอง ราคาปิดอยู่เหนือราคาปิดของแท่งที่แล้ว (สมบัติทั้งสามข้อต้องมีในแท่งเดียวกัน)
- แท่งก่อนหน้ากับแท่งปัจจุบัน มีส่วนที่ overlap น้อยมาก
สำหรับ แท่งเทียนกลับตัวขาลง ก็มีลักษณะแบบเดียวกัน แต่ กลับทิศทาง แต่ แท่งเทียนกลับตัวอย่างเดียว ให้น้ำหนักไม่พอสำหรับการเข้าออเดอร์ เราจะต้องดูบริบทรอบข้างประกอบด้วยเสมอ โดยเฉพาะแท่งก่อนหน้า แท่งกลับตัวด้วย
ถ้าเทรนเก่านั้นแรงมาก เราจำเป็นต้องรอให้ทะลุ เส้น Trend Line ก่อน (กำกับด้วยเลข 1 สีส้ม) แล้วรอให้ราคากลับมาทดสอบเส้น Trend Line นั้นๆอีกรอบ จากนั้นถ้ามี แท่งเทียนกลับตัวที่สวยงามและแข็งแรง บริเวณ Trend Line (กำกับด้วยเลข 2 สีน้ำเงิน) ถึงควรจะเข้าออเดอร์
แล้วทำไมถึงต้องรอให้มีการทดสอบกันอีกรอบ ? คำอธิบายมีอยู่ว่า เมื่อตลาดขาลงกำลังจะจบ คนซื้อขึ้นเริ่มเข้ามาซื้อ แล้ว ราคาก็ขึ้น แต่เมื่อราคาได้กลับมาบริเวณ Low เดิม มันเป็นบททดสอบครั้งสำคัญของฝั่งซื้อ ว่า จะยังมีแรงซื้อที่แข็งแรงเข้ามาอีกไหม หรือว่า จะถูกแรงขายเอาชนะ แล้วกดราคาให้เป็น New Low ในกรณีที่แรงขายไม่สามารถเอาชนะแรงซื้อ (เพื่อกดราคาลงต่ำกว่าเดิมได้) มันจะกลายสัญญาณที่ชัดเจนว่า แรงขายแพ้ แรงซื้อชนะ ซึ่งจะส่งผลให้ทุกคนมั่นใจว่าเป็นขาขึ้น ทำให้กลายเป็นขาขึ้นที่แข็งแรงนั้นเอง นี่คือเหตุผลว่า ทำไม Double Bottom, Double Top ถึงได้สัมฤทธิ์ผลบ่อยๆ รวมทั้งเป็นเหตุผลว่า ทำไมตลาดจะยังไม่เป็นขาขึ้นที่แข็งแรง จนกว่า จะได้กลับมาทดสอบ Low เดิมอีกครั้งและเอาชนะสำเร็จนั่นเอง (เพราะทุกคนยังไม่ได้เห็นภาพที่ แรงซื้อ K.O. แรงขายให้เห็นชัดๆ นั่นเอง)
False Reversal Bar
พูดถึงเรื่อง แท่งเทียนกลับตัวต่อจากตอนที่แล้ว ว่า แม้ว่าตัวแท่งเทียนกลับตัวจะสวยในตัวแท่งมันเอง แต่ก็ต้องดูบริบทสิ่งแวดล้อมด้วย เพื่อพิจารณากว่าเป็นการ Setup เพื่อกลับตัวจริงไหม ตอนนี้เราจะมาพิจารณาแท่งเทียนที่ดูเหมือนจะกลับตัว แต่ ไม่ใช่การกลับตัวจริงๆ กัน (False Reversal)
ถ้าแท่งเทียนกลับตัว มีส่วนที่ overlap กับแท่งก่อนหน้ามาก มันอาจจะเป็นแค่ส่วนหนึ่งของ sideway ไม่ใช่การกลับตัวจริงๆ เช่นเดียวกับ กรณีถ้าหางของแท่งเทียนกลับตัวยาวเกินกว่าแท่งเทียนก่อนหน้า(แม้จะเพียงเล็ก น้อยก็ตาม) ซึ่งหากเจอแท่งเทียนกลับตัวในสภาวะบริบทรอบข้างเช่นนี้ เราก็ไม่ค่วรเข้าออเดอร์โดยคาดว่าจะกลับตัว
- สองกรณีนี้ ไม่ใช่ setup เพื่อกลับตัวที่แท้จริง แต่จะเป็นส่วนหนึ่งของ sideway มากกว่า
- ถ้าลำตัวของแท่งเทียนเล็กจนเป็นโดจิ แต่ทั้งแท่งซึ่งรวมหางด้วยนั้นใหญ่ แบบนี้ก็ไม่ควรเข้าเทรด เพราะเป็นการแสดงถึง sideway ในตัวแท่งนั้นๆ เราควรจะรอดูแท่งต่อไปมากกว่า
- ถ้าเทรนเก่านั้นยังแข็งแรงอยู่ จะพบกรณีที่ ตอนต้นแท่งเทียน ก่อตัวเป็นรูปแท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น แต่ เมื่อใกล้จะถึงเวลาปิดแท่งเทียน ราคากลับถล่มลงมาปิดต่ำ ทำให้แทนที่จะได้แท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น กลับได้ แท่งเทรนขาลงแทน จึงต้องให้ความสำคัญของเวลาที่เหลือสำหรับปิดแท่งเทียนด้วย
- ถ้าเจอแท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น ที่ลำตัวเล็กมาก จำเป็นต้องพิจารณาแท่งก่อนหน้าร่วมด้วย แม้การมีหางล่างที่ยาว แสดงถึงพลังการซื้อจริงๆ แต่ การที่ลำตัวเล็ก อาจจะทำให้ราคาปิดของแท่งกลับตัวปัจจุบัน อยู่เหนือแท่งก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย และยิ่งหากมีการ overlap กันมาก ก็จะแสดงความเป็น sideway ใน time frame ที่เล็กกว่า ถ้าเจอกรณีนี้ ก็ต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเพิ่มเติม ก่อนจะเข้าออเดอร์
ในรูป 1.5, แท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น (กำกับด้วย 1) overlap มาก กับสี่แท่งก่อนหน้า แสดงได้เห็นถึงการมีพลังจาก ทั้งฝั่งซื้อ และ ฝั่งขาย เมื่อแรงสองฝั่งเท่ากัน ย่อมหมายความว่า ฝั่งซื้อยังไม่ชนะ จึงยังเป็นไปไม่ได้ที่จะกลับตัวขึ้นไป ฉะนั้น แท่ง 1 ไม่ใช่ signal สำหรับการเข้าซื้อขาขึ้น ส่วนแท่งเทียนที่กำกับด้วยเลข 2 ในรูป 1.5 เป็นแท่ง signal ที่ ยอดเยี่ยมสำหรับขาลง เพราะอย่างแรกคือมันหักล้าง ภาพแท่งเทียนกลับตัวขาขึ้นก่อนหน้ามัน (กำกับด้วย 1) อย่างที่สองคือ มันได้ย้อนกลับมาเข้าสู่ Trend Line ที่ลากมาจาก High ของวันได้ (เส้นสีม่วง)
แท่งเทียนกลับตัว ที่มีหางยาว และ ลำตัวเล็ก ต้องพิจารณาบริบทสิ่งเวดล้อมก่อนหน้ามันร่วมด้วย ในรูป 1.6 แท่งเทียนกลับตัว หมายเลข 1 เป็นแท่งเทียน Break out ลงล่าง ของ Channel ขาลงในภาวะที่ oversold ไปมากอยู่ก่อนแล้ว (ข้อสังเกตผู้แปล : มีคำที่แสดงถึงคำว่าลง ถึงสามครั้งในหนึ่งข้อความ) เมื่อมาถึงการ Break out นี้ Seller ที่กำไรแล้ว ย่อมอยากจะปิดทำกำไร จึงไม่มีแรงขายมาเพิ่มเติม กลับจะมีแรงซื้อจากการปิดทำกำไรแทน (เพิ่มเติมจากผู้แปล : นี่คือ false break out ที่พูดถึงไว้ในตอนที่ 1 ว่า ถ้าเกิดการ Break out ต่อจากการวิ่งมานานแล้ว มักจะเป็น False Signal เพราะเช่นเดียวกับกรณีที่ว่า ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะให้คนที่วิ่งมาราธอนมาไกลมากแล้ว ระเบิดพลังมา sprint สุดแรง เพื่อเริ่มวิ่ง 100 เมตรต่อทันทีโดยไม่ได้พัก การทำแบบนั้นจะกลับทำให้หมดแรง แทนที่จะวิ่งไปต่อได้) พิจารณา แท่งเทียน สีขาว หมายเลข 2 ในรูป 1.6 ต่อ จะเห็นว่า มีการ overlap ประมาณ 50% กับ แท่งก่อนหน้า (สีดำใหญ่) รวมทั้ง overlap กับแท่งก่อนหน้านั้นอีกหลายๆ แท่ง เป็นการแสดงออกถึงสภาวะตลาด sideway มากกว่าการเป็นแท่งเทียนกลับตัว นอกจากนั้น นอกจากนั้น Low ก็อยู่บริเวณเดิมก่อนหน้านี้ ซึ่งแสดงออกยิ่งชัดว่า เป็น sideway ดังนั้นเราไม่ควรเข้าเทรดที่แท่ง 2 นี้ จนกว่าตลาดจะเฉลยออกมา มากกว่านี้
Other Reversal Signal Bar (รูปแบบการกลับตัวอื่นๆ)
สำหรับสองตอนที่ผ่านมา เราได้พิจารณาถึง Reversal Signal Bar ที่ดีที่สุดคือ ไปแล้ว ตอนนี้มาดู Signal Bar แบบอื่นๆ กันบ้าง ตัวอย่างข้างล่างคือ Reversal Signal Bar ที่ดีพอสมควร สำหรับเข้าเปิดออเดอร์ โดยคาดหมายการกลับตัว (บาง Signal เป็น รูปแบบที่ใช้ 2 แท่งเทียน) ในส่วนนี้จะทำการ List รูปแบบ Reversal Signal Bar ทั้งหมดออกมาก่อน จากนั้น ถึงจะค่อยๆ พิจารณารายละเอียดของแต่ละแบบทีหลัง
Reversal Signal Bar แบบ Small Bar
- Inside Bar เดี่ยว (Note ผู้แปล : คิดว่าอันเดียวกับ สิ่งที่ในภาษาวิชาแท่งเทียนเรียกว่า Harami คือ เกิดแท่งเทียนที่เล็กกว่าแท่งก่อนหน้า และ อยู่ในขอบเขตของแท่งก่อนหน้าทั้งหมด, ซึ่งแปลความหมายได้ว่า กำลังจะกลับตัว)
- รูปแบบ ii (inside bar เล็กๆที่ ค่อยๆขยับไปทิศเดียวกัน 2 แท่งต่อกัน)
- รูปแบบ iii (inside bar เล็กๆที่ ค่อยๆขยับไปทิศเดียวกัน 3 แท่งต่อกัน)
- แท่งเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ high หรือ Low ของ แท่งใหญ่ (หรือ Doji) โดยเฉพาะถ้ามี body สีเดียวกับทิศที่กำลังจะกลับตัวไป แสดงให้เห็นว่า ทิศนั้นๆ กำลังชนะ
ต้องตระหนักไว้ว่าปกติแล้ว Doji เป็นสัญญาณการเข้าออเดอร์ที่ไม่ดี ถ้าคิดจะเล่นกับเทรน เพราะ Doji แสดงถึงสภาวะ sideway นั่นคือ อย่าเข้า Buy ที่ ราคา High และ เข้า Sell ที่ Low แต่มีกรณียกเว้นในการใช้ Doji เป็นสัญญาณเข้าออเดอร์ได้ คือ ในตลาด Sideway ให้เข้า Sell ที่ต่ำกว่า Doji ได้ ก็ต่อเมื่อ Doji นั้นเกิดที่บริเวณ High ของกรอบการวิ่งของราคา นั่นก็เพราะ Doji เป็น sideway เล็กๆ ซึ่งในกรณีนี้ Doji กำลังเกิดใน sideway ใหญ่ๆ คือ กรอบของราคา Sideway นั้นเอง (กรอบราคาเป็น Sideway ใหญ่, แล้วมี Doji ซ้อนอยู่ข้างในอีกทีเป็น Sideway เล็ก)
Reversal Signal Bar แบบอื่นๆ
- Outside Bars (ให้ดูบทต่อๆ ไป)
- Double Bottom Twin : หลังจากการลงมาอย่างหนัก เกิดแท่งเทียนสองแท่งติดกัน ที่มี Low เท่ากัน สัญญาณจะยิ่งชัด ถ้าหางล่างยิ่งสั้น หรือ ไม่มีหางล่างเลยยิ่งดี เป็นสัญญาณการกลับตัวขึ้นไป
- Double Top Twin : หลังจากการขึ้นมาอย่างหนัก เกิดแท่งเทียนสองแท่งติดกัน ที่มี High เท่ากัน สัญญาณจะยิ่งชัด ถ้าหางบนยิ่งสั้น หรือ ไม่มีหางบนเลยยิ่งดี เป็นสัญญาณการกลับตัวลงไป
- Reversal Bar Failure : ถ้าเทรนใหญ่นั้นแรงมาก จะทำให้ Reversal Bar เกิดการล้มเหลวได้ แม้สัญญาณต่างๆ จะชัด เช่น ในภาวะกระทิงมากๆ ราคาก็ยังขึ้นไปต่อ แม้ว่าจะมีสัญญาณการกลับตัวลงไปที่ชัดเจนก็ตาม
- Shaved Bar (แท่งตัน) : ไม่มีหาง ที่ด้านหนึ่ง หรือ ทั้งสองด้าน ในภาวะเทรนมากๆ (Note ผู้แปล : คิดว่าผู้แต่งพยายามบอกว่า การดูแท่งตันเดียวๆ ไม่สามารถยืนยันอะไรได้มาก มีโอกาสจะเป็น False Signal สูง)
- Exhaustion Bar : แท่งเทรนขนาดใหญ่ ที่เกิดหลังจากการวิ่งมานาน แปลว่า มันเป็นแท่งหลอกที่จะกลับตัวต่างหาก ไม่ใช่แปลว่าจะวิ่งต่อเหมือนแท่งขนาดใหญ่ตามปกติ (Note ผู้แปล : เคยพูดถึงเรื่องนี้อย่างละเอียดไว้ใน ตอนที่ 1 ดังนี้ “ปกติ ลำตัวแท่งเทียนใหญ่ หมายถึงเทรนที่แข็งแรง แต่ถ้าเป็นแท่งที่ใหญ่มากที่มาหลังจากการเดินทางที่ต่อเนื่องมานาน หรือ การ Break out จะกลับเป็นแท่งหมดแรงแทน”) จะเห็นได้ว่า มี small bar หลายแบบ ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน และ มีข้อสังเกต ดังนี้
- small bar ทุกแบบแสดงให้เห็นถึง การที่ทั้งทิศขี้น และ ลง ไม่มีแรงทั้งคู่
- การอ่าน small bar ต้องอ่านควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมของมันด้วย
- ถ้า small bar มี body สีเดียวกับทิศที่ต้องการ เป็นสัญญาณที่ดี
- ถ้า small bar ไม่มี body เลย, ปกติไม่ควรเข้าเทรด เพราะโอกาสที่จะเดินทางในทิศที่ต้องการนั้นต่ำกว่า การจะแกว่งอยู่ทีเดิมมากเกินไป ไม่คุ้มกับการเข้าเสี่ยงเทรด
ส่วนนี้จะเริ่มพิจารณา Reversal Signal Bar ทีละแบบอย่างละเอียดกัน
1. Inside Bar เดี่ยว Inside Bar ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายในแท่งก่อนหน้าทั้งหมดก็ได้ อาจจะมีหางด้านหนึ่ง หรือ ทั้งสองด้าน มีปลายหางเท่ากับแท่งก่อนหน้ามันก็ได้
สัญญาณการกลับตัวนี้จะชัดขึ้น ถ้า Inside Bar นี้มีราคาปิดค่อนมาทางฝั่งที่จะกลับตัวลงไป (Note ผู้แปล : เช่นก่อนหน้านี้ราคาวิ่งขึ้นมาไกล แล้ว เกิด Inside Bar แท่งเล็กๆ ที่อยู่ภายในแท่งก่อนหน้า และ Inside bar นี้มีราคาปิด อยู่ครึ่งล่างของ Bar ก็แสดงชัดว่า เป็นสัญญาณการกลับตัวลงไป)
หากมี Inside Bar เกิดขึ้นตามหลัง Break out Trend Bar ขนาดใหญ่, มันอาจจะเป็นได้ทั้งแค่ การพักชั่วคราว หรือ อาจจะเป็นการกลับไปเลย, ถ้าสีของ Inside Bar เป็นสีเดียวกับ Break out Trend Bar ก็น่าจะเป็นแค่การพักเพื่อไปต่อ และน่าจะเป็นการกลับตัวไปเลย ถ้า Inside Bar มีสีตรงข้ามกับ Break out Trend Bar
Small Inside Bar เป็นจุดที่อ่อนไหวมาก เพราะจะมีเทรดเดอร์ทั้งสองฝั่งเข้ามาเปิดออเดอร์ เช่น ในวันที่ราคาลงมาตลอด แล้วเกิด Bull Break Out ขึ้นไป จากนั้นถ้ามี Small Inside Bar เกิดขึ้น เทรดเดอร์จะเปิด Buy ที่ราคาสูงกว่า High ของ Small Inside Bar นั้นๆหนึ่งช่อง (หรือ 1 tick) โดยจะเตรียมเปิด ออเดอร์ Sell (Pending Sell Order) เพื่อทำหน้าที่เป็น Stop Loss เอาไว้ที่ ราคาต่ำกว่า Low ของ Small Inside Bar นั้น ซึ่งถ้าเป็นการ Break out ขึ้นไปจริงๆ Sell Order ก็จะไม่ต้องเปิด แต่ถ้าเป็นแค่ False Break Out แล้วราคาลงไปต่อ เทรดเดอร์ก็จะต้องพิจารณาการเปิด Sell Order นั้น และ จะต้องพิจารณาถึงการเพิ่มปริมาณ Order Sell ด้วยเพื่อชดเชยกับที่โดน False Break out เมื่อกี้หลอกมา จะเห็นได้ว่า เป็นกระบวนการที่ต้องตัดสินใจเยอะ ภายในระยเวลาสั้นๆ จึงมักจะถูกอารมณ์เข้าครอบงำได้ง่ายมากในบริเวณนี้, จึงต้องระวัง ไม่ให้ถูกอารมณ์ครอบงำ เพราะความสับสน และ อารมณ์ จะทำให้ความสามารถในการมองตลาดอย่างชัดเจนนั้นลดลง
แต่ถ้าราคาทำการ Swing ลงมาก่อน แล้วเกิด Small Bar ก็ให้พิจารณาที่จะเปิด Buy เท่านั้น สำหรับ Small Bar ที่เกิดในตลาด Trend small bar อาจจะไม่ได้เป็นสัญญาณ Reversal แต่อาจเป็นสัญญาณการเข้าทั้งสองทิศทางได้ เช่น ถ้าตลาดเป็นกระทิงมากๆ ราคากำลังขึ้นมาอย่าแรง เกิดแท่ง Bull ใหญ่ที่แข็งแรง, จากนั้น เกิด inside bar ใกล้กับ แท่ง Bull ใหญ่เมื่อกี้ แบบนี้ ควรจะเปิด Buy (Note ผู้แปล : ในตลาด Trend ชัดเจน เราไม่ควรเล่น Counter อยู่แล้ว ดังนั้นในกรณีนี้ไม่ควรเปิด sell อยู่แล้ว), หรือ ถ้าเป็น Small Bar ที่เกิดสูงกว่า High ของแท่ง Bull ใหญ่ก็เป็นสัญญาณ Buy เช่นกัน ถ้า Trend นั้นแข็งแรงพอ ความจริงแล้วในกรณีเหล่านี้ที่กล่าวมา (พวก Small Bar ที่ไม่ใช่ Reversal) ควรจะเข้า Buy เมื่อราคาย่อลงมาก่อนมากกว่า โดยเฉพาะ ถ้าพวก Inside Bar และ Small Bar ทั้งหลายเป็น Reversal Bar ด้วยก็ยิ่งควรจะรอ เพราะโอกาสย่อลงมามีสูง ก่อนจะเดินทางไปตามเทรน ต่อไป
ii Signal Bar (รูปแบบการกลับตัวอื่นๆ)
ในตอนที่แล้ว (ตอนที่ 4) เราได้พิจารณา Reversal Signal Bar แบบอื่นๆ ที่ดีพอสมควร แบบย่อยแรก คือ Inside Bar เดี่ยว (Note ผู้แปล : ที่เรียกกันว่า Harami) ซึ่งพิจารณาไปแล้วในตอนที่แล้ว ส่วนตอนนี้จะมาดู แบบอื่นๆ กันต่อ
Reversal Signal Bar แบบ Small Bar\
1. Inside Bar เดี่ยว (พูดไปแล้วในตอนที่แล้ว)
2. รูปแบบ ii (inside bar เล็กๆที่ ค่อยๆขยับไปทิศเดียวกัน 2 แท่งต่อกัน) รูปแบบ ii คือรูปแบบแท่งเทียนต่อกัน ที่มีแท่งเทียน inside bar สองแท่ง, แท่งแรกเป็น inside bar ปกติ (ราคาอยู่ภายในแท่งก่อนหน้าทั้งหมด), และมีแท่งที่สองเป็นแท่ง inside bar ของ inside bar แรกอีกทีหนึ่ง กล่าวคือ แท่งที่สองจะเล็กกว่า หรือ เท่ากับแท่งแรก (และจะมีรูปแบบ iii จะมีสามแท่งติด และจะให้สัญญาณชัดยิ่งกว่า)
ใน Time Frame ใหญ่กว่าเช่น 5min ถ้าพบรูปแบบ ii, หากมองละเอียดเข้าไปใน Time Frame เล็กกว่าเช่น 1min จะพบว่า มันคือรูปแบบ แบบ Double Bottom/Top ซึ่งมักจะเป็นการกลับตัว (อาจจจะเป็นเพียงแค่การย่อเล็กๆ หรือกลับตัวใหญ่เลย) นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมรูปแบบ ii อาจจะนำไปสู่การกลับตัวนั่นเอง
หลังจากราคามีการวิ่งระเบิดออก โดยเฉพาะถ้ามีการทะลุ Trend Line ออกไปตามเทรนเดิม แล้วเกิดรูปแบบ ii ขึ้นที่บริเวณแนวต้าน/รับหลัก มีโอกาสสูงที่จะเกิดการกลับตัวก่อนจะถึงเวลาอันสมควร (เป็น Failed Final Flag) แต่ถ้าเป็นการทะลุ Trend Line แบบสวนเทรนเก่า (การกลับตัวจาก Failed Final Flag) มักจะก่อให้เกิดการกลับตัวครั้งใหญ่ไปเลย
รูปแบบ ii นี้มักจะพบได้บ่อยใน Final Flag เพราะมันเป็นการแสดงถึง การมีแรงเท่ากันระหว่าง Bull กับ Bear แล้วนั่นเอง มันแสดงว่า พลังของฝ่ายที่อ่อนแอกว่า เริ่มเท่ากับฝ่ายที่แข็งแรงกว่าแล้ว อย่างน้อยก็เท่ากันชั่วคราว ถ้าเจอรูปแบบนี้ แปลความได้ว่า ฝ่ายที่อ่อนแอกว่า เริ่มพยายามเอาชนะ เมื่อเกิดการ Break out ตามเทรนเดิม
Stop Loss ของการเข้าออเดอร์แบบ ii คือ ที่ตำแหน่งไกลกว่า ปลายของทั้งสองแท่ง ii, แต่บางครั้งก็อาจจะเลือกใช้ Stop แบบแคบ โดยวางไว้ที่ ปลายของแท่งที่เล็กกว่าก็ได้ ถ้าแท่งเล็กนั้นค่อนข้างใหญ่อยู่แล้ว หลังจากเข้าออเดอร์แล้ว เมื่อแท่งเทียนที่เราเข้าหมดเวลา ก็ให้เลื่อน Stop Loss เข้ามา และ ตามดูอย่างใกล้ชิดว่า จะกลับตัวจริงหรือไม่ ถ้าเข้าถูก ราคาควรจะกลับตัวในระยะไม่กี่แท่งเทียนต่อมา ถ้าไม่กลับอาจจะเป็น Failure ซึ่งพบได้บ่อย ในกรณี Break out โดยเฉพาะถ้า รูปแบบ ii นี้เกิดตรงกลางของช่วงราคาการเทรดระหว่างวัน
Small Bar อาจไม่ใช่สัญญาณเข้าที่ดีเสมอไป โดนเฉพาะถ้าเจอรูปแบบ Small Doji (ยิ่งถ้าไม่มี body เลยนี่ยิ่งแย่ไปใหญ่) ซึ่งเกิดใกล้ๆกับ EMA และเกิดประมามณ 9-11 am รูปแบบนี้มีโอกาสสูงมากที่จะล้มเหลว จึงจำเป็นต้องดู Price Action อื่นๆ ก่อนจะเข้าเทรด (Note ผู้แปล : การเกิด Doji เป็นสัญญาณ Sideway อยู่แล้ว ยิ่งเกิดตรง EMA ซึ่งเป็นค่ากลางของราคา และในยามเช้าๆตอนตลาดนิ่งๆ หากคิดจะเข้าออเดอร์เพื่อหวังให้มันวิ่งแล้ว โอกาสจะผิดหวังก็คงจะสูงมาก)
3.รูปแบบ แท่งคู่ ถ้าตลาดเป็น Bull อย่างแรง บางครั้งจะมีแท่งเขียวสองแท่งที่ทีความสูงเท่ากัน และ มักจะมีใส้บนสั้นๆ นี่คือ Double Top Twin ใน Time Frame ใหญ่ และ Double Top ใน Time Frame เล็ก เช่น 1min, กรณีแบบนี้ ให้ เตรียมเข้า Long เมื่อราคาขึ้นไปสูงกว่าเดิม คือที่ปลายบนของแท่งคู่นั้น เพราะเรากำลังคาดหวัง Failed Double Top และที่ตำแหน่งนี้จะมี Stop Loss ของผู้เล่นฝั่ง Short อยู่ ซึ่งจะเป็น order ที่เข้า buy เป็นการช่วยเร่งเครื่องให้แก่ตลาด Bull ให้ขึ้นไปต่ออีกเมื่อมาถีงราคานี้ (Note ผู้แต่ง : กรณีนี้เป็นกรณีที่ ตั้งใจเล่นกับ False Signal, การเกิด Double Top ในกรณีทั่วไป ให้มองว่าจะลง, แต่ในกรณีพิเศษนี้เพราะตลาดเป็น Bull มากๆ ผู้แต่งจึงแนะนำให้เล่นกับ Double Top แบบล้มเหลวไปเลย คือ ให้มองว่าจะขึ้น แม้จะเกิด Double Top เป็นแผนซ้อนแผนอีกที) เช่นเดียวกับกรณีเมื่อกี้ ในภาวะที่ ตลาดเป็นเทรนขาลงหนักๆ ให้เข้า Short ตามที่ปลายล่างของ Double Bottom Twin
รูปแบบแฝดคู่ ขึ้น-ลง กับ ลง-ขึ้น ถูกเรียกด้วยหลายชื่อ แต่ทั้งสองแบบ มีแท่งเทรนสองแท่งสีตรงข้ามกัน ขนาดพอๆ กัน แล้ว overlap กัน (อาจเรียกว่า คู่แฝดตรงข้าม), ในรูปแบบ ขึ้น-ลง แท่งแรกคือ แท่งเทรนขึ้น (สีเขียวใหญ่) แท่งที่สองคือ แท่งเทรนลง (สีแดงใหญ่) ซึ่งในกรณีนี้เป็นรูปแบบสำหรับ การเข้า Sell (ถ้าตลาดไม่ได้อยู่ในสภาวะ sideway) ส่วนรูปแบบ “แฝดคู่ ลง-ขึ้น” ก็แป็นลักษณะที่เกิดจาก แท่งแดงใหญ่ตามด้วยแท่งเขียวใหญ่ ซึ่งจะเป็นรูปแบบสำหรับการเข้า Buy ทั้งสองแบบนี้ ก็คือ รูปแบบกลับตัวที่ใช้สองแท่งเทียน ซึ่งถ้าไปมองใน Time Frame ที่ใหญ่ขึ้น มันจะกลายเป็นรูปแบบกลับตัวด้วยแท่งเดียว ลองจินตนาการดูว่า ถ้าใน time frame 5 minute มีแท่งแฝดคู่ สองแท่งแบบนี้ แล้ว พอไปดูใน 10 minute สองแท่งนี้จะรวมกันได้เป็นแท่งเดียว หน้าตาเป็นใส้ยาวๆ ซึ่งแสดงถึงการกลับตัวนั่นเอง)
4.รูปแบบ แท่งเทรนใหญ่หัวตัน สำหรับแท่งเทรนใหญ่ (แท่งใหญ่หัวตัน) ที่เกิดในเทรนที่แข็งแรง ย่อมเป็นสัญญาณบอกว่า ตลาดกำลังมุ่งหน้าไปทิศทางเดียว ไม่ว่าจะไร้ใส้เทียนด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้าน แต่อย่างไรก็ตาม ในเทรนขาขึ้น หัวตันข้างบน ย่อมแสดงถึงความแข็งแรงในการขึ้น มากกว่า การที่หัวตันด้านล่าง นั่นเป็นเพราะแรงจำนวนมากที่บริเวณใกล้ๆ ราคาปิดด้านบน มาแสดงการดันราคาขึ้นไปต่อให้สูงกว่าเดิมนั่นเอง ดังนั้น แท่งเขียวใหญ่หัวตัน เป็นสัญญาณที่ดีในการเข้า Buy แต่ปกติแล้วมักจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าที่ตำแหน่ง ยอดหัวตันพอดี เพราะเมื่อเปิดแท่งเทียนใหม่ (ต่อจากแท่งเขียวหัวตันเมื่อกี้) ราคาก็มักจะกระโดดขึ้นไปสูงกว่านั้นแล้ว
ในกรณีที่เจอแท่งเทรนเขียวใหญ่ที่มีใส้บน 1 จุด หรือ เป็นแบบหัวตันด้านล่าง ก็ยังนับว่าเป็นสัญญาณที่แข็งแรง (เทียบกับ เขียวหัวตันด้านบน ซึ่งจะให้สัญญาณแข็งแรงกว่า) แน่ในกรณีนี้ มองแค่เหตุผลนี้ ยังไม่ดีพอสำหรับการเข้าซื้อ Buy ที่ตำแหน่งสูงกว่า High ของแท่งเขียวใหญ่นี้ ดังนั้นเราควรจะพิจารณาบริบท สิ่งแวดล้อมประกอบด้วย เช่น ถ้าแท่งเขียวใหญ่ ใส้บน 1 จุดนี้ เกิดในบริเวณ High เดิมของตลาด Sideway ที่มีขอบบนของ Channel ก็ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะไปเข้า Buy ที่ตำแหน่งสูงกว่า ด้านบนของแท่งเขียวใหญ่นี้ เพราะแท่งเขียวใหญ่นี้ น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบขอบบน แล้วย้อนลงมา ซึ่งมีโอกาสสูงกว่าจะเป็นการ Break Out ออกไปสำเร็จนั่นเอง
เทียบเคียงกับ กรณีแท่งเขียวใหญ่หัวบนตัน, แท่งแดงใหญ่ หัวล่างตัน ในตลาดหมีอย่างแรง ก็จะเป็น สัญญาณเข้า Sell ตามที่ 1 tick ต่ำกว่าราคา Low ของแท่งแดงใหญ่นั้น
แม้ว่าแท่งเทรนใหญ่ ที่มีทิศเดียวกับเทรนหลักนั้น ปกติแล้วจะแสดงการไปต่อ, แต่ถ้าเกิดแท่งเทรนที่ใหญ่ผิดปกติ มักจะเป็น แท่งหมดแรงแทน เช่นในตลาดกระทิง แท่งเทรนสีเขียวใหญ่ผิดปกตินั้นจะแสดงถึงการซื้อไม้สุดท้าย ก่อนจะกลับตัวลงไป (Note ผู้แปล : เคยพูดถึงเรื่องแท่งเทียนใหญ่หลอกนี้ ในตอนที่ 1 แล้ว), แม้ว่าสัญญาณการกลับตัวใดๆ สามารถใช้เป็นสัญญาณเข้าออเดอร์ได้ แต่การรอจังหวะสอง คือรอแท่งเทียนกลับตัว เป็นการเข้าที่ปลอดภัยที่สุด ถ้าจะเล่นสวนเทรน
นอกจากนั้นก็ต้องระวังเรื่อง แท่งเทรนใหญ่ ที่เกิดตอน Break out มักจะไปต่อไม่ไหวในแท่งต่อมา กลายเป็นกับดักที่ทำให้มีเทรดเดอร์ที่ซื้อผิดทางติดอยู่ในนั้น ไป (Note ผู้แปล : เคยพูดถึงเรื่องการ Break out Trend Line มักจะถอยกลับมาทดสอบ Trend Line และ Low เดิมก่อนบ่อยๆ) ซึ่งจะพบได้บ่อยในตลาด Side way เงียบๆ
ในสภาวะเป็นเทรน, ถ้าราคาพักตัว แล้วเกิด small bar นั่นเป็นสัญญาณให้เล่นตามเทรน, ใน Fig 1.7, แท่ง 1, 2, 4 และ 6 เป็นการพักตัวแล้ว เกิด small bar และ สิ่งที่พวกมันส่งสัญญาณคือ ให้ Short ไปตามเทรนขาลง โดยให้ตาม เมื่อราคา ต่ำกว่า Low ของแท่ง 1 แม้ว่าพวกมันจะเป็น Doji แต่พวกมันก็ไปตามเทรนใหญ่ ดังนั้นการ Short นี้ถือว่ามีเหตุผล
Small Bar อาจจะเป็นสัญญาเข้า Counter Trend ถ้ามันเกิดที่ Swing Low และถ้ามีเหตุผลอื่นๆ ในการเข้า Counter มาช่วยอีกด้วย แท่ง 3 เป็น Swing Low และเป็นชุดกลับตัวจากการลงมา (ที่เริ่มลงจาก แท่ง 2) แล้วแท่ง 3 ยังเป็น ขาลงที่สอง ในขาลงที่สองด้วย (Not ผู้แปล : คิดว่าผุ้แต่ง คงจะพูดเรื่อง ขาที่สอง ในบทอื่นภายหลัง) ซึ่งสองเหตุผลรวมกัน ทำให้แท่ง 3 เป็นสัญญาณ Counter Long ที่ดี (เพื่อขึ้นไปสู่ แท่ง 4 ที่เกิดต่อมาภายหลัง), แท่ง 5 เองก็เป็นสัญญาณ Long เพราะราคาเคยทำการ Break Trend Line มาแล้วตอนเกิดชุด 4 ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะกิดขาที่สอง ในการขึ้นไป และ แท่ง 5 ยังอยู่ตำแหน่ง Swing Low เดิมในสภาวะ Side Way ด้วย
ในกรณีเดียวที่ สามารถเปิด sell ที่ Low ได้คือ กรณีที่ตลาดเป็นตลาดหมี, แท่ง 8 ในรูปแม้ไม่ใช่ small bar แต่ก็เป็น inside bar ซึ่งทำหน้าที่เหมือน small bar และ แท่ง 8 ก็เป็น Trend Bar ด้วย ดังนั้นจึงปลอดภัยพอที่จะเปิด sell ที่ Low ของวัน, นอกจากนี้ แท่ง 8 ยังเป็น แท่งลักษณะแบบ ย่อตัวถอยกลับ หลังจาก Break out ใหม่ๆ แท่ง 8 จึงเป็นสัญญาเข้า sell ที่ดี
ตัวอย่างการกลับตัวต่างๆ จากกราฟจริง
ในตอนที่แล้ว (ตอนที่ 5) เราได้พิจารณา Reversal Signal Bar แบบอื่นๆ กันไป ส่วนตอนนี้จะมาดูรูปแบบเหล่านั้น ในสภาวะตลาดจริงกัน
ใน Fig 1.8, แท่ง 1 เป็นแท่งเทียนเล็ก หน้าตาเป็นแท่งกลับตัวขาลง แต่เป็นแท่งกลับตัวขาลง ที่ล้มเหลว มันเกิดตามหลัง แท่งขาขึ้นขนาดใหญ่ที่ทะลุ Trading Range ขึ้นมา ในวันที่เป็นขาขึ้น (มองว่าเป็นขาขึ้นเพราะแท่งเทียนส่วนใหญ่ อยู่เหนือ EMA ที่ยกตัวขึ้นมาเรื่อยๆ) ถ้าใจร้อนเสี่ยงเข้า short ที่แท่ง 1 ทันที โดยไม่รอสัญญาณคอนเฟิร์ม ก็จะโดนกับดัก(นั่นคือการไม่รอให้ได้เห็นราคาต่ำกว่า ราคา Low ของแท่ง 1) การเล่น Counter Trend ในวันที่เทรนแข็งแรง มักจะโดนกับดักเช่นนี้บ่อยๆและจะกินทุนไปเรื่อยๆ สำหรับคนที่ไปเข้าออเดอร์กับดักแบบนี้ เขาจะต้องยอม Stop Loss เมื่อราคาไปสูงกว่า High ของแท่ง 1 (ซึ่งการ Stop Short คือเป็นการเปิด Long ชนิดหนึ่ง) ณ จุดนั้นจึงเป็นจุดที่ดีในการเปิด Long เพราะจะมี Stop Short ทั้งหลายมาช่วยดันราคาขึ้นไปอีก, นี่เป็นตัวอย่างที่ดีว่า เพียงแค่แท่งเทียนกลับตัวแท่งเดียวนั้น ไม่เพียงพอในการเปิดออเดอร์ Counter Trend เพราะเงื่อนไขต่อมายังไม่เกิด นั่นคือการได้เห็นราคาต่ำกว่า Low เดิม สุดท้ายสัญญาณนั้นเลยกลายเป็น สัญญาณกลับตัวที่ล้มเหลว และ กลับไปเกิดสัญญาณเข้าออเดอร์ฝั่งตรงข้าม คือ เกิดสัญญาณเข้า Long แทน
ใน Fig 1.9, ชุดแท่ง Doji ทั้งก่อนหน้า และ หลัง แท่ง 1 นั้นไม่มีแท่งไหนเป็นสัญญาณที่ดีเลย เพราะพวกมันทั้งอยู่ตรงกลางของ ช่วงราคา sideway และ อยู่ใกล้กับ EMA ที่แบนราบ ซึ่งแสดงถึงภาวะ sideway สุดๆ
ส่วนแท่ง 3 เป็นแท่งเทรนขนาดยักษ์ ที่ทะลุ Low ของวัน และทะลุ Bear Trend Line ลงมาด้วย, จากนั้นเกิดแท่ง Bull inside bar ที่มีหัวบนตัน แปลได้ว่าแรงซื้อได้เริ่มเข้ามาอย่างรุนแรงและต่อเนื่องจนถึงเวลาปิดแท่ง นี่เป็นสัญญาณสำหรับการขึ้นที่สวยมาก อย่างน้อยก็ สำหรับรูปแบบการขึ้นแบบ สองขา (Note ผู้แปล : คาดว่าผู้แต่ง จะพูดถึงเรื่อง สองขา นี้เร็วๆ นี้ เพราะพูดถึงสิ่งคล้ายๆ กันนี้หลายรอบแล้ว แต่ยังไม่ได้มาชี้แจงรายละเอียด), และ แท่ง Bull inside bar (หลังแท่ง 3) นี้ยังอยู่ตำแหน่งขอบล่างของ Channel ด้วย จึงเป็นจุดเข้า Long ที่ดี โดยคาดหวังได้ว่า การขึ้นรอบนี้ควรจะย้อนขึ้นไปทดสอบจุดเริ่มต้นของ Channel คือแท่งเทียนเลข 2 ซึ่งภายหลังก็เฉลยว่า ไปถึงจริงๆ
ส่วนแท่ง 4 เป็นแท่งกลับตัวลงที่ล้มเหลว เพราะเกิดแท่ง 5 ซึ่งเป็น Bull Outside Bar ตามหลังมา ในภาวะกระทิงจัดแต่เดิมอยู่แล้ว (Note ผู้แปล : ก่อนหน้าจะมาถึง แท่ง 4 และ 5, มีแต่แท่งเทียน Bull ล้วน เป็นขาขึ้นแบบชัดเจน ซึ่งเรียกได้ว่า ภาวะกระทิงจัด) ซึ่งตำแหน่งนี้ เป็น สัญญาณเข้าตาม Long ที่ดี, เทรดเดอร์อ่อนหัด อาจจะ Short ไว้ ตอนราคาลงมาต่ำกว่า แท่ง 4 เพราะไม่รู้ว่า ในภาวะกระทิงจัด ไม่ควรเปิด Short ถ้าไม่มีการแสดงพลังของหมีก่อน (พลังของหมี เช่น การ Break Trend Line ลงไปสำเร็จเป็นต้น)
ใน Fig 1.10, บริเวณก่อนแท่ง 3 ราคาได้เปิด Gap ลงมา ต่ำกว่า Low ของเมื่อวาน แล้ว ย้อนขึ้นไปเหนือ EMA หากย้อนไปดูเมื่อวาน จะพบว่าราคาเคย Break Bear Trend Line ขึ้นไปถึงสามครั้ง จากนี้ไป จึงพอจะมีเหตุผลที่ดี หากคิดจะเปิด Long, แต่ก็ต้องรอสัญญาณทั้งสองอย่างให้ครบก่อนคือ 1.ให้รูปแบบเกิดสัญญาณซื้อ และ 2.เกิดแท่งเทียนกลับตัวสวย ซึ่งต้องมีทั้งคุ่ครบถึงจะเข้า Long ได้ในภาวะหมีเช่นนี้
แท่ง 3 เป็นแท่งที่ชัดเจนว่า ให้เข้า Long เพราะกลับตัวขึ้นมาจาก Low ด้วยหน้าตา แท่งเทียนกลับตัวขาขึ้น และที่ใกล้ๆ กับจุดที่คาดว่าจะกลับตัวนี้ ก่อนหน้าไม่นานที่แท่ง 2 ก็เคยเกิดเหตุการณ์ Break Bear Trend Line ไว้แล้ว (ในภาพไม่ได้แสดง เส้น Bear Trend Line ไว้) ที่ตำแหน่งแท่ง 3 จึงเป็นสัญญาณให้เข้า Long
แท่ง 4 กับ แท่ง 6 สามารถใช้ในการสร้าง Trend Line แล้ว นำ Line แฝดไปวางอีกฝั่ง ที่ปลายแท่ง 5 เพื่อสร้าง Down Trend Channel ขึ้นมา ที่ High ของ แท่ง 6 ตอนนั้นอาจจะเป็น สัญญาณเตรียม Long แต่ว่าไม่มีแท่ง Bull ยืนยันการ Long ตามมา จึงไม่สามารถเปิด Long ได้ ซึ่งในตลาดหมีถ้าอยากจะ Long จำเป็นต้องรอแท่งยืนยันก่อน
แท่ง 7 ได้สร้าง High เอาชนะแท่งก่อนหน้ามันสำเร็จ แต่ตอนปิดได้สีแดง ซึ่งกรณีนี้จะถือว่าเป็นแค่การเด้งกลับ (Pull back) ในภาวะที่เด้งขึ้นมาจาก การแตะขอบล่างของ Channel ซึ่งเหตุผลนั้นยังไม่ดีพอที่จะเปิดออเดอร์ Long แท่งเทียน Bull เป็นสิ่งที่ต้องการอีกอย่างในการจะเปิด Long ได้ในกรณีนี้เช่นกัน
ต่อไปลองดูที่บริเวณแถวๆ แท่ง 8 เริ่มจากเกิดแท่ง Bear ลงไปแตะขอบล่างของ Channel ซึ่งเป็นการการแตะครั้งที่ 2 (ครั้งแรกแตะบริเวณ แท่ง 7) จากนั้นเกิดแท่ง Bull inside bar ตามหลังแท่งแดงนั้น แล้ว เกิด small bull inside bar แท่งที่สองตามหลังอีกที (แบบที่มี inside bar สองแท่งติดแบบนี้เรียกรูปแบบ ii ซึ่งเป็นสัญญาณกลับตัวแบบหนึ่ง) ทั้งสองแท่ง ii นี้ นอกจากจะเกิดหลังจากแท่งแดงที่ไปแตะขอบล่างของ Channel แล้ว บริเวณ แท่ง 8 ii นี้ยังเป็นการทำ Higher Low เทียบกับ Low เดิมที่บริเวณ แท่ง 3 (Note ผู้แปล : พูดง่ายๆ คือ 8 สูงกว่า 3 แปลว่า น่าจะเริ่มเป็นขาขึ้นแล้ว), รวมทั้งก่อนหน้านี้เคยมีการ Break Bear Trend Line แล้วในวันนี้ ในการวิ่งขึ้นจาก แท่ง3 ไปยัง 4, ที่ตำแหน่ง แท่ง 8 ii นี้จึงเป็นสัญญาณที่ดีมากในการเปิด Long (Note ผู้แปล : ผมว่าตอนนี้ได้ความรู้เยอะทีเดียว, แนะนำให้อ่านพร้อมๆ กับดูกราฟหลายๆ รอบ เพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งขึ้นว่า เหตุผลในแต่ละจุดคืออะไร มีกี่เหตุผล จะทำให้เราเก่ง Price Action ขึ้นมากทีเดียว ตอนหน้า เราจะมาดูตัวอย่างจากกราฟอื่นๆ กันต่อครับ)
อีก 4 ตัวอย่างการดูแท่งเทียนจากกราฟจริง
ตอนที่แล้ว ได้มาเริ่มดูตัวอย่างกราฟจริงพร้อมการวิเคราะห์ต่างๆ คราวนี้มาดูตัวอย่างกราฟจริงเพิ่มเติมกันอีกสัก 4 ตัวอย่างกัน
ใน Figure 1.11 ตำแหน่ง 5ii เป็นจุดเข้า Buy แบบความเสี่ยงสูง (Note ผู้แปล: คนที่ไม่รู้ว่าอะไรคือ ii ให้ย้อนไปอ่าน บทแปล Part 5 กับ 6 ของบทแปลชุดนี้) เพราะมันเป็นการทดสอบ Double Bottom และเห็นรูปแบบการกลับตัวที่ 5ii แต่ก็ยังเสี่ยงเพราะ ยังไม่ผ่าน Trend line ที่กดไว้ลงมาจาก 4 จากนั้นเมื่อมาถึง 6ii จะเป็นจุดเข้า Buy ที่สอง ที่เกิดเป็นสามเหลี่ยมชายธง ที่ลากสามเหลี่ยมมาได้ไกลจนทะลุ Trend Line ที่กดไว้ลงมาจาก 4 สำเร็จ
แท่ง 7 เป็นจุดเข้า Buy ที่สาม ที่เกิดจาก Failed-Failed (Failed แรกคือ ราคาล้มเหลวที่จะ Break ขึ้นไป จากนั้นก็พยายามลง แต่ก็ล้มเหลวในการลงเป็น Failed ที่สอง) ซึ่ง Failed ที่สองเป้นสิ่งที่ค่อนข้างเชื่อได้
ปกติ หากเกิด Double Bottom แล้ว ราคาย้อนขึ้นไป จากนั้นถ้ามีการพักตัวลงอีกรอบ จะมีการพักลงมาลึกมากว่า 50% (บ่อยครั้งที่จะลงไปถึงล่างสุดของ Double Bottom แล้วกลายเป็น Triple Bottom) แล้ว มักจะเกิด Higher Low และจะเป็นรูปโค้งที่ Low ใหม่นั้นๆ มุมมองหนึ่งจะอธิบายว่า มันเป็นการสะสมกำลัง อีกมุมมองที่สำคัญจะอธิบายว่า ตลาดไม่สามารถทำ Lower Low ได้ในการพยายามครั้งที่สาม (ครั้งที่สอง พยายามตอน แท่ง 3 ครั้งที่สามยายามอีกตอน แท่ง 5) เมื่อไม่สามารถลงไปต่ำกว่าเดิมได้ แรงขายก็เริ่มลังเล และ แรงซื้อเริ่มเข้ามาแทนที่ในที่สุด
ใน Figure 1.12 แท่ง 2 (แท่งเล็กๆก่อนหน้า แท่ง Bull ใหญ่) เป็นแท่งจิ๋ว ซึ่งเป็น Higher Low จึงเป็นจุดเข้า Buy ที่ดี ประกอบกับเหตุผลเรื่อง Failed Final Flag และ มันเองก็เกือบจะเป็น ii ด้วย ส่วน สองแท่งก่อนหน้ามัน ยังไม่ได้ Break Down Trend Line เป็นจุดที่ยังเสี่ยงสูง ยังไม่ปลอดภัยที่จะเข้า Buy ที่ตรงนั้น
สำหรับแท่ง 1 (แท่ง Reversal สีขาว) ยังไม่ใช่จุดเข้า Buy ที่ดี เพราะถ้าจะกลับตัวจริง ต้องการแท่ง Bull เต็มๆ อีกหนึ่งแท่ง เพื่อเอาชนะ Bear Trend ที่แข็งแรงแช่นนี้ได้ (ก่อนหน้านี้ มีแต่แท่งแดงลงมาต่อเนื่อง)
ใน Figure 1.13 กราฟใหญ่ด้านขวา (กราฟ 5 นาที) ที่บริวณ 1 เห็น iii และ ที่ 2 เห็น ii ถ้าไปดูในกราฟเล็กด้านซ้าย (กราฟ 1 นาที) จะเห็นว่า ที่บริเวณ 1 คือ Double Bottom Pull Back (Note ผู้แปล : จะมองว่า เป็น Triple Bottom ก็ได้ แต่ผู้แต่งตั้งใจสื่อว่า เราเห็น Double Bottom ก่อนแล้ว จะเข้าทำตอนย่อครั้งที่สาม จึงเรียก Double Bottom Pull Back)
ส่วน 2ii เป็นลักษณะ ที่ราคาพยายามทำ Lower Low ให้ต่ำกว่าแท่งแดงใหญ่ก่อนหน้า 2ii แต่ไม่สำเร็จ ปกติ ii จะเป็นสัญญาณบอกการกลับตัว ในที่นี้คือกำลังลงมาอยู่แล้วเกิด ii จากนั้นก็กลับตัวย้อนขึ้นไป ซึ่งในภาพนี้ ทั้งสองกรณี คือ 1iii และ 2ii จะมีแท่ง Bull ตบท้าย ซึ่งเป็นลักษณะที่ดีมากในการที่จะเปิด Long, เพราะใน ii ปกติแล้วจะมีแท่งเล็กที่ไม่ใช่ตัวบอกทิศที่ดี ดังนั้นการจะมีแท่งเทรนขนาดพอสมควรเป็นตัวจบอยู่ใน ii ที่ไปในทิศที่เราต้องการจึงเป็นสิ่งที่ดีมาก
ใน Figure 1.14 แท่ง 1 (สีขาวเล็กต่อจากแท่งแดงใหญ่) เป็น Double Bottom Twin ในเทรนขาลง ( Low เท่ากันสองแท่งติด) แบบนี้ให้เปิด sell ที่ราคาต่ำกว่า Low 1 ช่องราคา, หรือ อาจจะ sell ที่ต่ำกว่า แท่งพักตัวสีขาวแท่งที่สอง ต่อจากแท่ง 1 ซึ่งเป็นการเข้าเร็วขึ้น เสี่ยงขึ้น
แท่ง 2 (แท่ง inside bar สีขาวเล็ก) ก็เป็นลักษณะเดียวกับ แท่ง 1 วิธีทำเหมือนกับ แท่ง 1 (ให้เปิด sell เมื่อเห็นราคาต่ำกว่า Double Bottom Twin)
แท่ง 3 (แท่งสีแดงตัน ก่อนหน้าแท่งขาวใหญ่) เป็น Double Top Twin ที่ควรจะเปิด Long, วิธีมองเหมือนกันแท่ง 1 เพียงแต่กลับจาก Trend ขาลงเป็น ขาขึ้น (Note ผู้แปล: นั่นคือให้เปิด Long เมื่อราคาสามารถทำ New High ได้เหนือกว่า Double Top Twin นั้น)
(Note ผู้แปล : ตอนนี้ได้ดูตัวอย่างกราฟเยอะ แบบจุใจกันเลยทีเดียว,
คราวหน้าจะมาดูตัวอย่างเยอะๆ แบบนี้อีก โปรดติดตามตอนต่อไป ^_^)
ตัวอย่างกราฟจริง พร้อมคำอธิบาย และ วิธีประเมิน
ตอนที่แล้ว (ตอนที่ 7) ได้ดูตัวอย่างการดู Price Action
ของแท่งเทียนจากกราฟจริงกันไปค่อนข้างเยอะ,
ตอนนี้ก็มาดูตัวอย่างเพิ่มเติมกันอีก
ซึ่งจะช่วยเสริมประสบการณ์จริงเพิ่มเติมกันครับ
ใน Fig 1.16 แท่ง 4 เป็นแท่งคู่แฝด กลับตัว ขึ้น-ลง หลังจากทะลุ High เดิมของเมื่อวาน ทะลุ Bull Trend Channel ขึ้นมา และ หลังจาก ทะลุ small flag (แท่งเทียนรูปแบบสามเหลี่ยมชายธง) บริเวณแท่ง 3 ขึ้นมาด้วย
แท่ง 1 แท่งคู่แฝด ลง-ขึ้น แต่ไม่ใช่นัญญาณกลับตัวที่ดี เพราะสองแท่งลงก่อนหน้านั้นมี โมเมนตัมการลงมากเกินไป หลังจากคู่แฝดแรก ก็เกิดแท่งคู่แฝด ลง-ขึ้น อีกคู่ ซึ่งการเกิดคู่ต่อเนื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้ในบางครั้ง การเกิดแท่งเทียนสี่แท่งที่ overlap กันแบบนี้มันเป็น Bear Flag และ ในตลาดหมี ในภาวะ sideway คุณไม่ควรเข้าซื้อที่ราคาปิดของ แท่ง 1 เพราะมันจะกลายเป็น ด้านบนของช่วงราคา sideway แม้ว่า รูปแบบแท่งคุ่เป็นสัญญาณกลับตัว แต่การหยุดการวิ่งครั้งแรก หลังจากการ Break out ปกติมักเป็นแค่การพักตัว และ ตามด้วยการวิ่งต่อในทิศเดิม (Note ผู้แปล: พูดอีกแบบหนึ่งว่า หลังจากเริ่มวิ่งอย่างแข็งแรง การหยุดครั้งแรก มักไม่ใช่การกลับตัวทันที ดังนั้นอย่าเพิ่งสวนเทรนทันที)
แท่ง 2 แท่งหมีขนาดใหญ่ เป็นแท่งที่ให้ตาม short ที่ดี เพราะมีคนที่พลาด Buy ไว้ที่ High ของแท่งคู่แฝด (ราคาปิดของ แท่ง 1) และราคาก็มาพักตัวที่ EMA พอดี, จึงเป็นจุด Follow ตามเทรนขาลงที่ดี แต่ถ้าจะรอให้จบแท่ง 2 ก่อนค่อยเข้าอาจจะช้าไปหน่อยเพราะ จะเห็นว่า แท่ง 2 นี้มีราคาปิดที่ต่ำกว่า Low ของแท่งก่อนหน้ามันมาก และ มีคน short นำไปแล้วก่อนที่จะปิดแท่ง 2 นี้ ด้วยเหตุผลว่า เห็น Low หลังจากแตะเส้น EMA (Note ผู้แปล : เหมือนกับว่า ราคาได้มาพักที่ EMA แล้วก็แสดงอาการพักพอแล้ว และส่งสัญญาณจะลงต่อด้วยการเห็น Low ใหม่)
แท่ง 2 เป็นแท่งหัวตัน ไร้ใส้ด้านบน เกิดในเทรนขาลง แต่เพราะก่อนหน้านั้นราคาไม่ได้ทิ้งดิ่งลงมา ในกรณีนี้ จึงไม่มีเหตุผลพอในการ sell แต่ก็มีเหตุผลอื่นคือ เกิด inside bar ก่อนหน้าในตลาดหมี จึงสามารถ sell ได้เช่นกัน
แท่ง 3 เป็นแท่งกระทิงหัวตันทั้งบน และ ล่าง แต่ก่อนหน้านั้นเป็นตลาดหมี จึงไม่ใช่สัญญาณสำหรับเข้า buy ทันที (Note ผู้แปล : ไม่เหมือนแท่ง 1 ที่เป็นแท่งลงตัน ในตลาดหมี ซึ่งให้ sell ตามได้ทันที) ถ้าดูแท่ง 3 คู่กับก่อนหน้า จะเห็นว่าเป็นแท่งคู่แฝดด้วย ซึ่งก็ช่วยเพิ่มน้ำหนักในการเข้า buy ได้อีก จึงพอจะเข้า buy ได้ อย่างน้อยก็สำหรับ การเล่นสั้นๆ (scalping)
ส่วน แท่ง 4 กับ แท่ง 5 ดูผิวเผิน หรือ ดูแท่งเดี่ยวๆ จะคิดว่าเป็นสัญญาณให้ตามเทรน เพราะเป็นแท่งหัวตัน แต่ที่จริงแล้ว ไม่มีความหมายใดๆ ในการตีความตามเทรนเลย เพราะพวกมันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการวิ่งอย่างรุนแรงของราคา (Note ผู้แปล : ผมจะพูดอยู่เสมอ ว่า การดูสัญญาณต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดู บริบท สิ่งแวดล้มด้วยเสมอ แท่งเทียนก็เช่นกัน อย่าดูและจดจำแท่งเดี่ยวๆ ต้องศึกษาทั้งหน้าตาแท่งเดี่ยว สิ่งแวดล้อมทั้งก่อนหน้ามัน และตำแน่งของมันด้วยเสมอ จึงจะครบถ้วน)
Fig 1.18 ในกราฟ 5 นาทีอันนี้ มีตัวอย่างที่ดี ที่พบได้บ่อยๆ หลายอัน
แท่ง 1 เป็น โดจิ ลำตัวขนาดจิ๋ว และเป็นแท่งที่ 3 แล้วที่มีการ overlap กันมาก หากเข้า Buy ที่ราคาเหนือ แท่ง 1 นี้คงเป็นการกระทำที่โง่ทีเดียว เพราะ EMA เองก็บอกอยู่ว่าราคาอยู่ต่ำกว่า EMA
แท่ง 2 เป็นแท่งกลับตัวที่ดี เพราะเกิด new Low ก่อน แล้วย้อนกลับมาไกล ทำให้เกิดหางยาว และ ยังย้อนกลับขึ้นไปต่อ ทำให้ได้ลำตัวขนาดพอสมควรด้วย แต่ก็มีสัญญาณแสดงความอ่อนแอบ้าง โดยมีใส้ด้านบน ซึ่งแท่งต่อมาได้ลบล้างความอ่อนแอนี้ ด้วยแท่งเทรนขนาดใหญ่ ซึ่งทะลุ Trend Line ออกไปด้วยกำลัง
แท่ง 3 เป็นแท่ง out side bar ที่เกิดหลังจากการหยุดพัก และ เป็นแท่ง Break out ทำ new High ของวัน ซึ่งปกติแล้ว out side bar แบบนี้จะเกิดขึ้นเร็วมาก จนตามเปิดออเดอร์กันไม่ค่อยทัน
แท่ง 4 เป็น แท่งโดจิที่เกิดที่ new High แต่โมเมนตัมจากการขึ้นนั้นแรงมาก และ แท่งกลับตัวนั้นอ่อนแอ (หางล่างยังยาว) จึงยังไม่ควรเข้า sell ตรงนี้ ควรจะรอสัญญาณ sell ครั้งที่สองก่อน (ปกติจะเกิดทีหลังจากนี้ ในระลองคลื่นต่อๆ ไป)
แท่ง 5 เป็นแท่งกระทิง out side bar ที่เกิดหลังจาก การพักตัว (Pull back) สู่ EMA ครั้งแรก ในตลาดกระทิงดุ จึงเป็นจุดที่น่า Long ตามเทรนเดิมมาก
แท่ง 6 เป็นแท่งกลับตัวที่ค่อนข้างเล็ก แต่เป็นสัญญาณ sell ครั้งที่สอง (ต่อเนื่องจาก ตอนเกิดแท่ง 4 เป็นสัญญาณ sell แรก) และ เป็นการขึ้นมาของคลื่นระลอกที่สอง นับตั้งแต่ (ขึ้นมาจาก แท่ง 2 มาพักที่ แท่ง 4 เป็นคลื่นแรก) แล้วก็ (ขึ้นจาก แท่ง 5 มาถึง แท่ง 6 เป็นระลองที่สอง) ซึ่งคลื่นระลองสองแบบนี้มักจะเกิดการกลับตัว
แท่ง 7 เป็น รุปแบบ ii ซึ่งอยู่ในเทรนลง ที่คาดว่า อย่างน้อยก็ต้องลงไปถึง EMA และ ควรจะข้าม EMA ได้ด้วย เพราะราคาเคยเข้าทดสอบ EMA แล้วครั้งหนึ่ง ตอนแท่ง 5, ซึ่งถ้าเข้า sell ที่นี่ต้องวาง Stop Loss ไว้ที่เหนือ High ของ ii นี้ โดยปกติแล้ว หากราคาใกล้กันมากเกินไป (มีพื้นที่ให้ราคาแกว่งน้อยไป) ก็อาจจะวาง Stop Loss ไว้ไกลกว่า High เล็กน้อย สำหรับคนที่เข้า Long ไว้ที่เหนือราคา High ของแท่ง 7 เขาจะเปลี่ยนฝั่งมา sell เมื่อราคาต่ำกว่า Low ของ 7 แท่งต่อมาจึงเกิด Out side bar ขนาดใหญ่ตามมา
แท่ง 8 เป็น Lower High (เทียบ 8 กับ 6 ตามภาพ) และเป็นโดจิ, ปกติแล้วเราไม่ควร sell ที่ขอบล่าง ของโดจิ เพราะโดจิแสดงภาวะ side way, แต่การเกิดแท่งโดจิสามแท่งติดกัน มีโอกาสสูงมากที่จะเกิดการกลับตัว (Note ผู้แปล : เกิดโดจิหลายแท่ง เกิดนานๆ หมายความว่า แรงที่ขึ้นมาก่อนหน้านี้ได้หมดลงอย่างสมบูรณ์แล้ว เพราะการแสดงเกิดภาวะ sideway อย่างยาวนาน ย่อมหมายถึง แรงขึ้นกับลงเท่ากันแล้ว พร้อมจะไปด้านไหนก็ได้แล้ว) โดจิสามแท่งนี้ จึงทำหน้าที่เหมือนรูปแบบกลับตัว ii จึงมีเหตุผลที่ดีพอควรในการเข้า Sell
แท่ง 9 เป็นแท่งคู่แฝด ลง-ขึ้น (ซึ่งถ้าคุณจิตนาการออก มันคือแท่งเทียนกลับตัวหางล่างยาวใน time frame ใหญ่กว่า คือ 10 นาที) ที่มาทดสอบ Low เดิมที่บริเวณ แท่ง 5 และก็เป็นคลื่นระลอกที่ 2 นับตั้งแต่ แท่ง 6 ลงมา (Note ผู้แปล : คลื่นระลอกสอง มีเหตุผลตามที่ผุ้แต่งบอกไปก่อนหน้านี้ว่า มีโอกาสกลับตัวสูง เมื่อมีอีก 2 เหตุผลคือ เป็นแท่งคู่แฝดแสดงการกลับตัว และ เป็นการทดสอบ Low ของแท่ง 5 รวมเป็น 3 เหตุผลส่งเสริมกัน จึงน่าเข้า Buy มาก โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ EMA นั่นเอง)
แท่ง 10 เป็นแท่งหมี และมี Low เท่ากันในตลาดหมี จึงเป็น Double Bottom Twin Short ที่ให้เปิด short เมื่อราคาทะลุ Low เหล่านี้ลงไปได้
แท่ง 11 เกิดที่คลื่นลงระลอกที่สาม ก่อนแท่ง 11 เป็นแท่ง โดจิขนาดใหญ่ ส่วนแท่ง 11 เองมีหางล่างยาว ลำตัวเล็ก และ overlap กับแท่งก่อนหน้ามันอยู่เยอะ จึงควรตีความว่าโอกาสจะเกิดภาวะ sideway และรอดูตลาดต่อไป มากกว่าที่จะไปมองว่าแท่ง 11 เป็นแท่งกลับตัวทันที
(Note ผู้แปล : การเรียนรู้จากตัวอย่างจริง ดูเหมือนจะมีประโยชน์มากทีเดียว ตัวผมเองก็ชอบดูตัวอย่างจริงพร้อมคำอธิบายแบบนี้ ตอนหน้าก็จะยังมาดูตัวอย่างจริงแบบนี้กันต่ออีกครับ)
ตัวอย่างกราฟจริง Inside Bar
ตอนนี้จะเป็นตอนสุดท้ายสำหรับพวกตัวอย่างจากกราฟจริง ถึงเรื่อง Inside Bar ครับ เริ่มดูกันเลยครับ
ใน Fig 1.19 แท่ง 1 (แท่งดำใหญ่) เป็นแท่งที่เกิดต่อจาก แท่งกลับขึ้นสีขาว (ซึ่งเป็นแท่งกลับตัวที่ล้มเหลว ที่เกิดในภาวะเทรนลงที่แข็งแรง) แท่ง 1 นี้เป็นแท่งที่สวยมากสำหรับการเปิด Sell เพราะว่าคนที่ถูกดักโดยการเข้า Buy ไว้ตอนแท่งกลับตัวขึ้นล้มเหลวนั้น จะถูกบังคับให้ยอมแพ้ เมื่อราคาต่ำกว่า Low ของแท่งสีขาวนั้น (ปิด Buy เท่ากับ เปิด Sell แบบหนึ่ง) ซึ่งจะกลายเป็นแรงช่วยดันราคาลงไปต่อ
แท่ง 2 กับ แท่ง 3 เป็น small bar เกิดที่ขอบด้านบนของ TradingRange (กรอบการวิ่งของราคา) จึงน่าจะเปิด sell โดยเฉพาะในภาวะตลาดหมีที่แข็งแรงดังในรูป
ใน Fig 1.20 แท่ง 1 เป็น แท่งคู่แฝดกลับตัวแบบ Down-Up ซึ่งควรเข้า buy เกิดหลังจาก ทะลุ Open ของวัน แต่ เป็น Higher Low เมื่อเทียบกับ Low ของเมื่อวาน
แท่ง 2 เป็นแท่ง small bar กลับตัวสีดำ ที่เกิดที่ตำแหน่ง High ของ แท่งกระทิงขนาดใหญ่ และได้ไปทดสอบ EMA มันล้มเหลวที่จะกลับตัวลงไป จึงกลายเป็น สัญญาณเตรียมเข้า Buy ให้ Buy ตามเมื่อราคาสามารถทะลุ High ของมันขึ้นมาได้ ซึ่งจะเป็นการเข้าจังหวะที่สอง
แท่ง 3 เป็นแท่ง inside bar ที่เกิดหลังจาก มีการทะลุขึ้นไปของ Bull Trend Channel และ มีการทะลุ High ของเมื่อวานด้วย จึงกลายเป็นสัญญาณกลับตัวลงไป (Note ผู้แปล : ปกติแล้ว เมื่อมีการทำ New High มักจะตามด้วยการพักตัวก่อน)
แท่ง 4 เป็น โดจิ ลำตัวเล็กๆ ที่เกิดตามหลังโดจิอีกสองแท่ง, เป็นสัญญาณการกลับตัวลงไปที่ยังไม่ดีพอ เพราะทั้ง Low High และ Close กำลังยกตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงดูแล้วยังมีแรงขึ้นต่ออีก, แบบนี้ควรจะรอสัญญาณคอนเฟิร์มครั้งที่สองก่อน ซึ่งเกิดหลายแท่งต่อมา คือ ตรงแท่งขาวใหญ่ได้ Lower High แท่งดำใหญ่ ได้ Lower Low และ เกิดการทะลุ Trend Line ลงมาสำเร็จ
แท่ง 5 เป็น รูปแบบกลับตัว ii ที่พยายาม Break out ขึ้นไปแต่ไม่สำเร็จ จึงกลับตัวลงมา
แท่ง 6 เป็นแท่งที่ทะลุ Low ของวันไปเล็กน้อย (ตรงแท่ง 1) แล้วกลับตัวขึ้นมา เกิดเป็น Double Bottom
แท่ง 7 เป็นแท่ง โดจิ ที่มี High อยู่เหนือ EMA ได้ และถ้าเทียบกับแท่ง 6 มันเป็น Higher Low ด้วย ดังนั้นแม้ว่าลำตัวจะเล็ก แต่ก็เป็นสัญญาณการเข้า Long ตามเทรนที่ดี
แท่ง 8 เป็น inside bar ที่เกิดหลังจากการทะลุ High ของวัน (Note ผู้แปล : เกิดแบบที่เป็นลักษณะจำเป็นต้องพักตัว หลังจากได้ New High) และ หลังจากทะลุ Channel ขอบบนของขาขึ้น (Note ผู้แปล : แบบนี้เทียบได้กับแท่งใหญ่หมดแรง Exhaustion Strong Move) แต่ ถ้าดูชุดการขึ้นมาก่อนหน้า (ที่เริ่มขึ้นมาจากแท่ง 7) จะเห็นว่าโมเมนตัมการขึ้นนั้นแรงมาก จึงไม่ควรเข้าที่สัญญาณแรก ควรจะรอสัญญาณที่สอง ซึ่งก็เกิดตามมาตอนที่เกิดแท่ง 10 ที่เป็น Outside down bar และ เป็น Fail Bull Reversal Bar
แท่ง 9 (แท่งสีขาวขนาดเล็ก) จะมีคนที่ถูกดักเพราะเปิด Buy ด้วยเหตุผลว่าโมเมนตัมการขึ้นชุดที่แล้วเหลือเยอะ (ชุดที่ขึ้นมาจากแท่ง 7) แต่ถ้าดูดีๆ จะเห็นว่า แท่ง 9 นั้นเล็กกว่าแท่งเทรนสีขาวพวกนั้นมาก และ หลังจากเกิดแท่ง 10 (outside bar) ก็ต้องยอมแพ้ ทำการปิด Buy ซึ่งก็เหมือน เปิด Sell, ซึ่งจะทำให้เกิดแรงช่วยขายตามมาอีก
แท่ง 11 เป็นแท่ง Bull inside bar และมีการพยายามกลับตัวขึ้นไปเป็นครั้งที่สอง (ครั้งแรก เกิดที่แท่ง 9) และเริ่มมีการ Break Down Trend ขึ้นไป นอกจากนั้นมันยังเป็น EMA Gap ที่ห่างออกมาจาก EMA มาก ในวันที่ตลาดเป็น Sideway จึงเป็นสัญญาณ Long ที่ดี
ใน Fig 1.21 แท่ง 1 เป็นแท่งเทรนขึ้นขนาดใหญ่ แต่เกิดหลังจากวิ่งขึ้นมานานมากแล้ว จึงน่าจะพิจารณาว่าเป็นแท่งใหญ่หมดแรงมากกว่า (Exhaustion strong move) แบบนี้สิ่งที่ควรทำคือ รอ Short แต่ให้รอ เข้าจังหวะสอง (เพราะโมเมนตัมการขึ้นมาเยอะ จึงไม่ควรเข้าจังหวะแรก) ซึ่งก็คือ แท่ง 2 นั่นเอง (มีแท่งลง แท่งแรกเกิดหลังแท่ง 1 แต่เป็นจังหวะ Short แรก ซึ่งยังไม่ควรเข้า หากโมเมนตัมการขึ้นยังสูงมาก)
แท่ง 3 เป็นแท่งลงขนาดใหญ่ จากนั้นเกิดแท่งโดจิตามหลังมา อีกสองแท่ง ตัวโดจิเอง ไม่ใช่สัญญาณสำหรับ สวนเทรนที่ดีนัก จึงควรจะรอดูสัญญาณต่อไปมากกว่า
แท่ง 5 เป็นแท่ง Bull reversal ที่เกิดตามหลัง แท่งลงขนาดใหญ่หัวตัน (แท่งลง ที่เกิดหลังจากลงมาได้สักพักแล้ว) และยังเป็นการดันราคาลงไป ระลอกที่สามแล้ว นับตั้งแต่แท่ง 4 (ดูได้จากการเกิดแท่งเทียน Lower Low สามแท่ง) จึงเป็นการ Long แบบสั้นๆได้ (เล่นสั้นๆ = Scalp)
แท่ง 6 เป็น แท่งกลับตัวขนาดใหญ่ที่เกิดหลังจากทะลุขอบล่างของ Channel ขาลงทุกแบบที่สามารถวาดได้ จึงเป็นสัญญาณการกลับตัวที่ดีมาก (ดังที่บอกไปว่า ถ้ามีการทะลุขอบล่างของ Channel ขาลงอีก มันจะเข้าข่าย Exhaustion Strong Move) แต่ว่า ก่อนหน้าแท่ง 6 เป็นแท่งลงขนาดใหญ่ถึงสี่แท่งต่อกัน แสดงให้เห็นถึงโมเมนตัมการลงที่มากมาย จึงควรจะรอจังหวะสองก่อนค่อยเข้า Long ซึ่งก็คือ แท่ง 7 นั่นเอง (แท่งสีขาวแท่งที่สอง เกิดหลังจาก แท่ง 6) ซึ่งเป็น Oustide bar ที่เห็นทั้ง Higher Low (เทียบกับ แท่ง 6) และ เห็น Higher High (เทียบกับแท่งเทียนตั้งแต่ แท่ง 6 ขึ้นมา)\
ใน Fig 1.22 แท่ง 1 เป็นแท่งขนาดเล็กเมื่อเทียบกับแท่งลงขนาดใหญ่ก่อนหน้ามัน, มันยังเป็นการทดสอบ Low เดิมของวันด้วย สำหรับในวันที่ตลาดไร้แนวโน้มเช่นนี้ จึงเป็น สัญญาณการเข้า Long ที่พอใช้ได้ในระดับหนึ่ง
แท่ง 2 เกิดตามหลังแท่งขึ้นสีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งแท่งสีขาวนี้ได้ทะลุ
TradingRange ที่แคบมาก (กรอบการวิ่งของราคา) ที่เกิดจาก 9
แท่งก่อนหน้ารวมกัน, แท่ง 2 ซึ่งหน้าตาเป็นสัญญาณ Short ที่เกิดหลังจากการ
Break out ทันทีจึงเป็นสัญญาณบอกว่า Fail Break out
จากนั้นมีแท่งลงขนาดใหญ่ตามมา ราคาจึงกลับตัวลงไป
Outside Bars
Outside Bars (แท่งเทียนแบบ กลืนกิน แท่งก่อนหน้า) คือ แท่งเทียนที่มี High
สูงกว่า แท่งก่อนหน้า และ Low ต่ำกว่าแท่งก่อนหน้า Outside Bar
เป็นรูปแบบที่ซับซ้อน จึงต้องดูบริบท สิ่งแวดล้อมในการอ่านด้วย
แต่สิ่งหนึ่งที่แน่ๆ สำหรับ Outside Bar ที่อ่านได้คือ
ทั้งแรงซื้อและแรงขายที่กล้าที่จะทุ่มเทหนักขึ้นทั้งสองฝั่ง
ทำให้เกิดแท่งที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และ ถ้าราคาปิดอยู่ประมาณกลางๆ แท่ง
ก็หมายความว่ามันกลายเป็น 1-Bar Trading Range คือมี ช่วงการแกว่งของราคา
ภายในหนึ่งแท่งที่ค่อนข้างใหญ่ (ไส้บนล่างเยอะ
แปลว่ามีช่วงการแกว่งเยอะนั่นเอง)
Fig 1.22B Outside Bar, Outside Bar แบบ 1-Bar Trading Range และ วิธีเล่น Break out ด้วย Outside Bar
ปกติแล้วจะตีความกันว่า Outside Bar เป็นสัญญาณสำหรับการ Breakout
ออกไปด้านใดด้านหนึ่ง ดังนั้นจึงให้ตามเมื่อมันหลุดออกสุดขอบของแท่ง
Outside Bar, วิธีทำคือ หลังจากที่หลุดออกไปด้านหนึ่งแล้ว ก็ให้วาง Pending
Order ไว้ตามที่อีกด้านหนึ่งไว้ด้วย และให้ขนาดเป็นสองเท่าของด้านแรก
แต่ต้องระวังไว้ว่า วิธีนี้ค่อนข้างเสี่ยงถ้าจะใช้กับกราฟ 5 นาที
ด้วยเหตุผลว่าจุด Stop Loss ที่อีกด้านหนึ่งนั้นไกลเกินไป
แต่ถ้าเลือกที่จะเข้าออเดอร์แบบนี้จริงๆ ควรมีเหตุผลอื่นที่ดีพอ
และสามารถแก้ปัญหาความเสี่ยง Stop Loss ไกลได้ด้วยการบริหารเงินทุนให้ดี
(Money Management) โดยการลดขนาดของออเดอร์ลง ส่วนกราฟ 1
นาทีกลับค่อนข้างเป็นสัญญาณที่ใช้เข้าออเดอร์ได้ (Note ผู้แปล : เพราะว่า
Stop Loss ในกราฟ 1 นาที สำหรับ Outside Bar นั้นยังไม่ไกลมากนักเหมือนกราฟ
5 นาที)
Fig 1.22C วิธีใช้ Break Trend Line ร่วมกับ Outside Bar แบบ Follow Pending Order
ในกรณีที่มี Outside Bar เกิดขึ้น หลังจากที่มีการ Break Trend
Line แล้วเกิดจังหวะเข้าที่สอง มันจะเป็นสัญญาณที่ดีมากในการเข้าออเดอร์
Buy ดังในรูป Fig 1.22C ถ้าราคาเกิด New Low เป็นครั้งที่สอง และ
เริ่มกลับตัวขึ้นไปทะลุ Trend Channel Line แบบนี้ให้เริ่มคิดที่จะเปิด Buy
วิธีทำคือวาง Pending Order ไว้ที่ตำแหน่งเหนือราคา High ของแท่งที่แล้ว
ถ้าราคามาไม่ถึงก็คอยเลื่อน Pending Order ตามแท่งใหม่ไปเรื่อยๆ
จนกว่าราคาวิ่งขึ้นมาชนและเปิดออเดอร์ Buy สำเร็จ วิธีนี้ค่อนข้างดี
เพราะถ้าราคาวิ่งขึ้นมาได้จริง แสดงว่ามีทั้งคนที่ Buy
อย่างแข็งแรงทำให้ราคาดันขึ้นมาจนถึงตำแหน่ง Pending Buy ครั้งที่ 2 สำเร็จ
ซึ่งจะส่งผลให้คนที่เล่น Sell ไว้ที่แท่งแดงต้องทำการ Stop Loss
เมื่อราคามาถึงตำแหน่งเดียวกัน (Pending Buys ครั้งที่ 2)
เป็นการส่งเสริมแรง Buy ยิ่งขึ้นไปอีก
ถ้า Outside bar อยู่ตรงกลางของ ช่วงการแกว่งของราคา
(TradingRange) ขนาดใหญ่ มันไม่ได้บอกอะไรกับเราจึงไม่ควรเข้าเทรด แต่ถ้ามี
แท่งขาลงขนาดเล็กเกิดที่บริเวณ High เดิมของ Outside Bar
พอจะใช้เป็นสัญญาณเข้า Sell ได้
เพราะเป็นการยืนยันในสิ่งที่ทุกคนรู้อยู่แล้ว คือ
การที่แรงซื้อกับแรงขายกำลังเท่ากัน นั่นคือกลายเป็น Sideway จึงทำให้ควร
Sell ที่บริเวณใกล้ High เดิมของ Trading Range นั่นเอง
Fig 1.22D ผลของการ Break out จาก Outside Bar ที่อยู่กลาง TradingRange
ส่วนในกรณีที่ Outside Bar อยู่ตรงกลางของ TradingRange
แล้วราคาวิ่ง Break แท่ง Outside Bar นั้นออกไป ก็ปล่อยมันไปก่อน แล้ว
รอหาจังหวะเข้า Sell ในสองสามแท่งต่อมา
เพราะมักจะเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง Failed Break Out (ย้อนกลับไปเลย)
หรือ Pull Back (ย่อก่อนแล้วก็เดินทางต่อ)
แต่ทั้งคู่จะมีผลลัพธ์เบื้องต้นที่เหมือนกันคือ
จะมีการย่อกลับมาทางเดิมก่อน
Outside Bar and Inside Bar
Fig 1.22E สัญญาณ inside-outside-inside แบบที่ใช้เป็นสัญญาณได้และแบบที่ใช้ไม่ได้
ถ้าเกิดแท่งเทียน Outside Bar แล้วตามด้วย Inside bar ก็จะเป็นรูปแบบ
ioi (inside-outside-inside) ซึ่งจะเป็นสัญญาณสำหรับ การเข้าไปเพื่อเล่น
Break out ด้วย Inside Bar แท่งหลัง ตามภาพ 1.22E ด้านซ้าย
แต่ก็ควรจะเข้าก็ต่อเมื่อมีเหตุผลอื่นที่ดีพอ
ที่จะให้สัญญาณว่าราคาจะวิ่งต่อไปได้ต่อ เช่น ในกรณีที่ ioi อยู่ที่ New
swing high การตาม short เมื่อราคาทะลุลงล่างมา ก็จะเป็นการเข้าที่ดี
(นี่เป็นสัญญาณครั้งที่สอง โดยอาจจะมองได้ว่า Low ของ Outside Bar
เป็นสัญญาณ short แรก) แต่ถ้า Inside Bar นั้นเกิดตรงกลางของ Outside Bar
และมีขนาดใหญ่ (Fig 1.22E ด้านขวา)
ก็ควรจะรอดูสัญญาณอื่นที่ชัดเจนกว่าต่อไปก่อน
เพราะมันแสดงถึงแรงที่เท่ากันระว่างซื้อกับขาย
Fig 1.22F Outside Bar ที่ต่างสี (เทียบกับเทรนก่อนหน้า) จะให้สัญญาณที่ต่างกัน
ใน Fig 1.22F ด้านซ้าย แสดงในกรณีที่เทรนที่ขึ้นมาก่อนหน้านั้นแรงมาก
แล้วเกิดแท่ง Outside Bar สีเขียวขึ้น (สีเดียวกับเทรน)
ดูผิวเผินเหมือนเป็นสัญญาณแรกของการกลับตัว แต่แบบนี้ให้มอง Outside Bar
เป็นแค่เหมือน แท่งเทรนใหญ่ (Note ผู้แปล : สังเกตสีของแท่ง Outside Bar
กับเทรนเหมือนกัน คือ สีเขียวทั้งคู่) แท่ง Outside Bar นี้ไม่ควรมองเป็น
Trading Range (ช่วงการแกว่งของราคา)
เพราะมักจะเกิดสัญญาณกลับตัวครั้งที่สองกลังจาก Outside Bar นั่นเป็นเพราะ
Outside Bar นั้น เกิดขึ้นโดย ในครั้งแรกราคาเหมือนจะย้อนกลับไปทางตรงข้าม
แต่ต่อมา ตลาดก็เห็นพ้องกันว่าราคาควรไปทิศเดิม
จึงเกิดการวิ่งสวนกลับไปตามทิศเดิมอีก
ซึ่งถ้าเห็นพ้องกันอย่างรวดเร็วแบบนี้จะมีโมเมนตัมมาก
จึงส่งผลต่อไปให้เกิดการขึ้นต่อได้อีกระลอก Outside Bar
จึงทำหน้าทีเป็นจุดเริ่มต้นของคลื่นระลอกที่สอง
แทนที่จะเป็นจุดสูงสุดแล้วกลับตัวไป
ส่วน Fig 1.22F ด้านขวา ในกรณีที่เป็นเทรนขาลง
แล้วมีแท่งเทียนที่ตอนเริ่มต้นแท่ง สร้าง Low ก่อนแล้ววิ่งสวนขึ้นไปผ่าน
High ของแท่งก่อนหน้า ทำให้ชน Stop Loss ของ ออเดอร์ที่ Short
ไว้ในแท่งเทียนก่อนหน้า จากนั้น ราคาย่อลงมา แต่ก็ปิดได้ที่สูงกว่า High
แท่งก่อนหน้านั้น ก็จะกลายเป็น Outside Bar สีเขียว (Note ผู้แปล :
สังเกตสีของแท่ง Outside Bar คือสีเขียว กับเทรนก่อนหน้าคือสีแดง
มีสีตรงข้ามกัน) ซึ่งตรงนี้จะก่อให้เกิดทั้ง Higher High (เทียบ High
ระหว่าแท่งก่อนหน้ากับแท่งปัจจุบัน) และ Higher Low (เทียบ Low 2
ราคาปิดของ Oustide Bar) จึงทำให้ทุกคนเริ่มมองว่าเป็นเทรนขาขึ้นแล้ว
ซึ่งจุดนี้เองจะเป็นจุดเริ่มต้นของการขึ้นคลื่นระลอกที่สอง และ
มักจะมีคลื่นที่สามตามจากนี้
ซึ่งถ้าดูในกราฟจะมีรวมทั้งหมดสามคลื่นส่งขึ้นไป แต่ ถ้าดูจาก Low ของ
Outside Bar จะเห็นว่ามีแค่สองคลื่น
ปกติแล้วเหตุการณ์ในรูป 1.22F ด้านขวา ราคาจะขึ้นอย่างแข็งแรง
นั่นเป็นเพราะ Low 1 ก่อให้เกิดการ Short ตาม
แต่การวิ่งย้อนกลับขึ้นไปของแท่งเขียวทำให้ทั้งตลาดมองว่าจะขึ้น
จึงเกิดการแย่งซื้อกันจึงทำให้เป็นเทรนขึ้นไปหลายแท่งเทียน คนที่ถือ Short
ค้างไว้ก็จะหวังว่าราคาลงมาบ้างเพื่อที่จะได้ปิดได้โดยขาดทุนน้อยๆ
ในขณะที่คนที่มองขึ้นก็อยากให้ราคาลงมาเช่นกัน
เพื่อที่จะได้ตามซื้อได้ที่ต้นทุนต่ำๆ
แต่เมื่อทั้งสองฝ่ายอยากให้ลงเหมือนกัน ราคามันก็จะไม่ลง
เพราะเมื่อใดก็ตามที่ราคาลงมาเล็กน้อยก็จะเริ่มมีทั้งคนปิด Short และ เปิด
Long ตลอดเวลา จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ราคาจะวิ่งขึ้นไปอย่างแข็งแรง
เทรดเดอร์ที่อยากเก่งเรื่อง Price Action ให้ติดตามดูบริเวณ Low 1
และ Low 2 ให้ดีๆ ถ้าคาดการว่าจะเป็นดังรูป 1.22F ด้านขวา ให้วาง ออเดอร์
Pending Long ตรงบริเวณ High 1 ของแท่งเทียนที่ก่อนหน้า
เพื่อที่จะตามเทรนขึ้นไปได้
สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากที่ขอให้จำไว้ในการอ่าน Outside Bar คือ
เมื่อไหร่ก็ตามที่ดูไม่ออกหรือไม่แน่ใจ
ให้รอสัญญาณต่อไปให้ชัดเจนขึ้นก่อนจะตัดสินใจ
ใน Fig 1.23
แสดงไว้ให้ว่า ถ้าเกิดเทรนที่แข็งแรง (จากราคาเปิดถึง 2)
แล้วเกิดการพักตัวแบบ Sideway (จาก 2 ถึง 3)
มักจะตามด้วยการไปต่ออีกหนึ่งชุดคลื่น (จาก 3 เป็น 4) ปกติแล้วถ้ามีการ
Break out ด้วยสัญญาณ Outside Bar แล้วราคามักจะเดินทางเป็นสองระลอกคลื่น
แท่ง 1 เป็นแท่ง Outside Bar, เทรดเดอร์ที่ฉลาดจะเปิดออเดอร์ short
เมื่อราคาต่ำกว่า Low ของแท่ง 1 เพราะ คนที่เข้า Long ไว้เร็วไป จะต้อง
stop loss ที่ตรงนั้น, และเทรดเดอร์ที่ฉลาดจะไม่คิดเรื่อง Long
จนกว่าจะเห็นเหตุผลที่หนักแน่นกว่านี้, การลงระลอกคลื่นแรกจบที่แท่งแดงใหญ่
(สองแท่งก่อนหน้าแท่ง 1)
แท่ง 2 เป็นคลื่นลงระลอกที่สอง ปกติ หลังจากลงครบสองระลอกคลื่นแล้ว ตลาดมักจะปรับตัว
แท่ง 5 เป็น Outside Bar สีดำ แต่ตลาดกำลังเป็น sideway
โดยดูได้จากเกิดแท่งเทียน Overlap เต็มไปหมด
ดังนั้นมันจึงไม่ใช่สัญญาณที่ดีพอในการจะเล่น Break out ส่วน inside bar
ที่ตามหลังมันมา ก็ใหญ่เกินไปที่จะใช้เป็นสัญญาณได้เช่นกัน (รูปแบบ ioi)
เพราะจะกลายเป็นว่าเป็นการ sell ที่บริเวณขอบล่างของ TradingRange
(กรอบการวิ่งของราคา) หรือ buy ที่บริเวณบนของขอบบน
ซึ่งเป็นวิธีที่ตรงข้ามกับสิ่งที่ควรทำในตลาด Sideway (Note ผู้แปล :
ในตลาด sideway สิ่งที่ควรทำคือ sell ที่ขอบบน และ buy ที่ขอบล่าง)
Outside Bars
Outside Bar เป็นแท่งเทียนที่มีความซับซ้อนสูง เพราะในแท่งเดียวกัน
ทั้งแรงซื้อและแรงขายเคยเป็นผู้นำมาก่อน ดังนั้นแท่งต่อๆ มา
อาจจะได้เห็นการกลับตัวอีก
แท่ง 4 เกือบจะเป็น Outside Up Bar ในการเทรด
ถ้าเจอรูปแบบที่ค่อนข้างเชื่อได้แล้วละก็ น่าเสี่ยงเข้าเสมอ
เพราะมันจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดี แท่ง 4 เป็นแท่งสีขาวแท่งที่ 2
ที่เกิดในระลอกคลื่นที่ 2 และเป็นความพยายามครั้งที่ 2
ที่จะพยายามกลับตัวที่ Low ของวัน ดังนั้นแท่ง 4 จึงเป็นสัญญาณ Long
ที่ค่อนข้างเชื่อถือได้
แท่ง 5 ก็เป็น Outside Bar ที่มีแท่ง Small inside bar
ตามหลังอยู่บริเวณใกล้ๆ High ของแท่ง 5 อีกครั้งหนึ่งที่เจอรูปแบบดีๆ
เช่นนี้ (เหมือนที่เจอในแท่ง 2) เพราะสามารถเข้า Short
ได้โดยที่ความเสี่ยงต่ำมาก, ถ้าราคาวิ่งไปต่ำกว่า Low ของแท่ง Outside Bar
(แท่ง 5) คาดการณ์ลงต่ออีกสองระลอกคลื่น เพราะว่าออเดอร์ Long
ที่โดนดักไว้ในแท่ง 5 นี้ต้องยอมแพ้เมื่อต่ำกว่า Low แท่ง 5
แรงขายจึงจะถูกกระตุ้นลงไปอีกจากการปิด Long พวกนั้น
แต่ครั้งนี้สองระลอกคลื่นที่คาดการณ์กันไว้ มาในรูปแบบของ Doji (แท่ง 8 และ
9) เป็นรูปแบบ Double Bottom เล็กๆ ซึ่งไม่ใช่แบบที่มีแรงลงอย่างแข็งแรง
หลังการสูญเสียโมเมนตัมการลงนี้ ก็เกิดแท่ง 10 ซึ่งเป็นการย่อตัวพักกลับมา
แบบ Low 2 (เหมือนในรูปตอนที่ 11 Fig 1.22F) จึงเกิดการดัก Short ขึ้น,
แท่ง 9 ยังเป็น High 2 Long ในลักษณะย่อตัว ถ้ามองคลื่นใหญ่
(ที่ขึ้นมาตั้งแต่ แท่ง 4) แท่ง 9 นี้ก็เป็น Higher Low ด้วย
ซึ่งทั้งหมดรวมกันทำให้มีเหตุผลที่ดีพอในการจะ Long
ใน Fig 1.25 แท่ง 1 เป็น
Outside Bar ที่น่าเข้า Long เพราะก่อนหน้ามันมี Gap เปิดทิ้งไว้กว้าง และ
เกิดแท่งแท่งลงซ้ำต่อ, ฉะนั้นการเปิด Long เมื่อราคาทะลุ High
ของแท่งลงก่อนหน้าได้ จึงมีโอกาสชนะสูง เพราะว่าตลาดจะพยายามปิด Gap
คืนและก็มี คนเปิด Short ที่ต้องมายอมแพ้ปิด Short (เหมือนเปิด Long)
ช่วยดันราคาขึ้นที่บริเวณ High ของแท่งลงนั้น (แท่งแรกของวัน)
แท่ง 2 เป็น Outside Bar Up ซึ่งจะดัก Short ไว้ที่บริเวณ Low 1 ถ้าเข้าเร็วไป (ไม่รอให้เห็น Low 2 ที่ต่ำกว่า Low 1)
แท่ง 3 เป็นแท่ง Bear Reversal ที่เกิดที่ High ของ Outside Bar
(แท่ง 2) ซึ่งเป็นสัญญาณ short ที่สวยงาม อย่างน้อยก็สำหรับคนเล่นสั้นมาก
(Scalper)
แท่ง 4 ก็เป็น Outside Bar, แต่แท่ง 5 ที่ตามมาไม่ใช่แท่ง small
inside bar จึงไม่ใช่รูปแบบ ioi ครั้งนี้จึงไม่ใช่สัญญาณ Short ที่ดีเลย
ที่จริงแล้วแท่ง 5 นี้ เป็น Outside Bar ของ Outside Bar อีกที
ซึ่งไม่ใช่สัญญาณที่ดีสำหรับการเข้าออเดอร์ทั้งสองฝั่ง
แท่งหลังจากแท่ง 5 เป็นสัญญาณ Log ที่สวย เพราะเป็น inside bar Up
ที่เกิดตามหลัง outside bar และเกิดที่บริเวณ Low ของ Outside bar นั้น,
จึงบอกสัญญาณกลับตัวขึ้นไป และ การเข้าออเดอร์ที่นี่มี Stop Loss ที่ใกล้
จึงมีความเสี่ยงต่ำ ตัวมันเองเป็น Low 2 (เหมือนรูป 1.22F) และ เป็น Higher
Low เมื่อเทียบชุดคลื่นใหญ่ ที่มี Low อยู่ที่ แท่ง 1
แท่ง 6 เป็น Reversal Bar Down, และ อยู่ใกล้กับ High ของ Outside
Bar (ลักษณะเดียวกับ แท่งหลังแท่ง 5 แต่กลับเป็นขาลง) จึงเป็นสัญญาณ Short
ที่สวยอีกครั้ง
แท่ง 7 ได้ทะลุ Swing High ก่อนหน้ามัน แล้วกลับตัวลงไป
จบลงด้วยการเป็น Outside Bar, จากนั้นแท่งต่อมาเป็น แท่ง small inside bar
Up ที่เกิดที่ Low (ซึ่งเป็นสัญญาณเปิด Long
ที่สวยงามเหตุผลเดียวกับแท่งหลังแท่ง 5 และแท่ง 6) เราควรจะเปิด Long
เมื่อราคาสูงกว่า High ของแท่งสีขาวนี้ (ตั้ง Pending
Long ไว้) แต่ว่า ราคาไม่เคยทะลุ High ของแท่ง Small inside bar นั้น
จึงเปิด Long ไม่สำเร็จ แม้ว่าจะพยายามทะลุขึ้นไปหลายๆ แท่งต่อมา จนถึงแท่ง
8 ก็ยังทะลุขึ้นไม่สำเร็จ พอมาถึงแท่ง 8
แรงขายเริ่มเข้ามาและกลายเป็นคลื่นลงระลอกที่สองในที่สุด และ แท่ง 8
ยังเป็น Micro Trend Line Break ลงไปอีกด้วย (ไม่เห็นในภาพ ต้องดู Time
Frame ที่เล็กกว่านี้)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น